โรงเรียนบ้านอาบช้าง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

เผยแพร่ผลงานวิชาการของนางพรชนก วิลัยลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอาบช้าง
การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง             การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถ

                        การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง

                        จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้วิจัย                นางพรชนก วิลัยลาน

ปีการศึกษา        2566

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริม

ความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู  2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู  3) ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภูและ 4) เพื่อประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้างอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า สภาพปัจจุบันเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความต้องการเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล การตรวจสอบรูปแบบของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความถูกต้องภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบ พบว่า ความถูกต้อง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า 1) ครูมีความสามารถในการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียนโดยรวมเป็นรายบุคคลอยู่ในระดับดีเยี่ยม และ 3) สรุปการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมมีจุดเด่น คือ โรงเรียนมีการจัดประชุมประจำเดือน ครูได้มีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามความสะดวกและเหมาะสม จุดที่ควรพัฒนา คือ ควรแลกเปลี่ยนเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพในการพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับบริบทของนักเรียนเป็นสำคัญ และแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยเน้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

4. ผลการประเมิน รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลางจังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า ความเหมาะสมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  ไฟล์ประกอบ
การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง
ส่งข่าวโดย :   เมื่อวันที่ : 12 กันยายน 2567 11.54 น. เปิดอ่าน: 12 ครั้ง ไอพี:: 1.10.130.135 [ปิดหน้าต่าง]
Comments with Facebook
5 ข่าวล่าสุดในหมวดเดียวกัน

เผยแพร่ผลงานวิชาการของนางพรชนก วิลัยลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอาบช้าง [12 กันยายน 2567 11.54 น.] [อ่าน 12 ครั้ง]
ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2
Ⓒ Copyright 2024 [ติดต่อทีมพัฒนา]