เว็บไซต์หลักโรงเรียนบ้านควน สพป.สตูล คือ
สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา : โรงเรียนบ้านควน
: ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล รหัสไปรษณีย์ 91140 โทรศัพท์ 074 –799025 โทรสาร 074-770219
:สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ปฐมวัย (อนุบาลปีที่ 1 – 3 ) ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีเขตพื้นที่ บริการ
ประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 (บางส่วน) หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ประวัติโดยย่อ
โรงเรียนบ้านควน เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านควน โดยผู้นำท้องถิ่นได้ติดต่อซื้อที่ดินจากนายสมาน
หมาดสกุล ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 (เดิม) ในราคา 180 บาท ด้วยงบประมาณการประถมศึกษา เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ มี
อาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จดที่ดินนายอาสัน ตะวัน ยาว 2 เส้น 17 วา 3 ศอก
ทิศใต้ จดที่ดินนายมูสา นิลาวัน และนายหยาบ ตะวัน ยาว 2 เส้น
17 วา 3 ศอก
ทิศตะวันออก จดที่ดินถนเข้าหมู่บ้าน ยาว 1 เส้น 3 วา 2 ศอก
ทิศตะวันตก จดคลองบ้านควน ยาว 1 เส้น 4 วา 1 ศอก
ภายหลังพิจารณาเห็นว่าที่ดินดังกล่าว ขณะนั้นอยู่ห่างไกลจากที่ถนนหลวงและอยู่ติดกับคลองใหญ่ ซึ่งไม่ปลอดภัย
ต่อเด็กนักเรียน จึงมีการติดต่อขอแลกเปลี่ยนกับที่ดินนายฮัจยีสิ้น หลังปูเต๊ะ อิหม่ามมัสยิด บ้านควนซึ่งมีเนื้อที่พอ
ๆกัน จากการนำของนายอุเส็น หมาดสกุล ผู้แทนประจำตำบลบ้านควน เจ้าคุณสมันต-รัฐบุรินทร์ สมาชิกผู้แทน
ราษฎรจังหวัดสตูล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้จัดให้มีการสร้างอาคารเรียนชั่วคราวแบบศาลา จำนวน 1 หลัง บริเวณบ้าน
นายฮัจยีเน๊าะ หลังปูเต๊ะ และนายปูรี หลังปูเต๊ะ เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนชั่วคราวเมื่อสร้างอาคารถาวรเสร็จก็มีการ
ทำพิธีเปิดครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน มีนายดิเรก (สมบูรณ์ ) นาวีบรรดาศักดิ์ เป็นครูใหญ่ มีนายเชาว์
พยัคฆ์พันธ์ นายเทพ สนูบุตร เป็นครูผู้สอน
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2479 ได้มีการทำหนังสือซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ดิน ตามหนังสือซื้อขายที่ดินที่ 31 /
2479 ลงวันที 20 กรกฎาคม 2479 และได้รับงบประมาณจากทางราชการ 1,266 บาท เป็นค่าก่อสร้างอาคาร
เรียน 1 หลัง 2 ห้องเรียน แบบ ป. 1 ก ชั้นเดียวหลังคามุงกระเบื้อง ฝาไม้กระดาน พื้นซีเมนต์ โดยทำการก่อสร้าง
ในที่ดินที่แลกเปลี่ยน ( แปลงปัจจุบัน )
ในปี 2493 ได้รับงบประมาณจากทางราชการต่อเติมอีก 2 ห้องเรียน
ในปี 2507 อาคารเรียนหลังดังกล่าวถูกวาตภัย ใช้ในการเรียนการสอนไม่ได้ จึงแยกนักเรียน แต่ละชั้นเรียน รวม
4 ชั้นเรียน ไปเรียนใต้ถุนบ้านนายฮัจยีเน๊าะ หลังปูเต๊ะ นายอูมา บูนำ นายอาซีซัน บินสอาด และนายอุเส็น หมาด
สกุล
ในปี 2513 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 008 จำนวน 1 หลัง 5 ห้องเรียน เป็นเงิน 18,000 บาท
และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบเด็กเล็ก จำนวนเงิน 20,000 บาท
ในปี 2513 ได้รับงบประมาณจากสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 50,000 บาท ซื้อที่ดินของนายเด็น หลังปูเต๊ะ และ
นายมน หาบยูโซ๊ะ เนื้อที่ 6 ไร่ 60 ตารางวา โดยซื้อขยายไปทางทิศเหนือ รวมเนื้อที่โรงเรียนขณะนั้น 10 ไร่ 25
ตารางวา จนกระทั่งถึงปัจจุบันมีอาคารเรียนรวมเป็น 6 หลัง คือ
- อาคาร 1 เป็นอาคารแบบ008 จำนวน 5 ห้องเรียน
- อาคาร 2 เป็นอาคารเรียนแบบ ป.1 ข. จำนวน 6 ห้องเรียน
- อาคาร 3 เป็นอาคารเรียน แบบ ป. 1 ข. จำนวน 5 ห้องเรียน
- อาคาร 4 เป็นอาคารเรียนแบบ 017 จำนวน 8 ห้องเรียน ( ปัจจุบันได้
รื้อถอนไปแล้วเนื่องจากผลกระทบของ”สึนามิ” ใน พ.ศ. 2547)
- อาคาร 5 เป็นอาคารเรียน แบบ สปช. 105 /29 จำนวน 2 ชั้น 6 ห้อง
- อาคาร 6 เป็นอาคารเรียนแบบ สปช.103/26 จำนวน 4 ห้องเรียน
งบประมาณปี 2549
- อาคาร 7 เป็นอาคารเรียนแบบ สปช.103/26 จำนวน 5 ห้องเรียน
งบประมาณปี 2549
- มีบ้านพักครู 1 หลัง บ้านพักนักการภารโรง 1 หลัง
- โรงฝึกงาน 1 หลัง
- อาคารอเนกประสงค์แบบ 312 1 หลัง
ในปี 2548 ได้รับงบประมาณซื้อที่ดินสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบทดแทนส่วนที่มีผลกระทบจากภัยธรณี
พิบัติ”สึนามิ” ที่พื้นดินเป็นโพรงใต้ดิน ซึ่งเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดการยุบตัวของพื้นดินได้ มีเนื้อที่ทั้งหมด
9 ไร่ 3งาน 73 ตารางวา งบประมาณทั้งสิ้น 1,743,200 บาท และได้รับงบประมาณซื้อดินถมที่ดินดังกล่าวงบ
ประมาณ 1,181,000 บาท งบประมาณสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 240,000 บาท
ในปี 2549 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 103/26 จำนวน 2 หลัง 9 ห้องเรียนเป็นเงิน
4,485,000 บาท และได้รับงบประมาณในการสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นเงิน 215,400 บาท คิดเป็น
ระยะทาง 110 เมตร
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2024-08-02 15:55:51 น.