โรงเรียนบ้านแหลมตง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบล อ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ในปีพุ?ธศักราช 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเยี่ยมเยือนประชาชน บ้านเกาะพีพี ซึ่งกลุ่มชาวไทยใหม่ (ชาวเล) ที่ได้อาศัยอยู่บริเวณบ้านแหลมตง อันเป็นส่วนหนึ่งของเกาะพีพี ได้มาเฝ้ารอรับเสด็จ พระองค์ได้พระราชดำรัสถึงสถานที่เล่าเรียนของชาวเลกลุ่มนี้ ซึ่งปรากฏวากลุ่มชาวเลดังกล่าวไม่มีโรงเรียนที่จะศึกษาเล่าเรียน พระองค์จึงมีพระราชดำริ ให้ก่อสร้างโรงเรียนสำหรับให้กลุ่มชาวเลได้ศึกษาเล่าเรียนขึ้น ต่อมานายซิ้น กิตติธรกุล กำนันตำบลอ่าวนาง ในขณะนั้น ได้ก่อสร้างโรงเรียนจนเสร็จโดยมีผู้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ ดังนี้
1. นายอูยัก ชาวน้ำ บริจาคเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 2 งาน
2. นายปริญญา จุฑามาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ในขณะนั้น บริจาคเงิน 10,000 บาท สำหรับซื้อวัสดุก่อสร้าง
3. นายแอน บ่อน้ำร้อน เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโดยไม่คิดค่าแรง
4. นายซุ้น กิติํธรกุล บริการรับขนส่งวัสดุในการก่อสร้าง
5. นายอุเส้น ทองเกิด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7ในตำบลอ่าวนางขณะนั้นเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการก่อสร้าง
โรงเรียนบ้านแหลมตง ได้ทำการสอนตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2519 และในปีงบประมาณ 2520ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างดังนี้
อาคารเรียนถาวร แบบป.1 ก ขนาด 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 260,000 บาท บ้านพักครู 1 หลังเป็นเงิน 70,000 บาทส้วม 2 ที่นั่ง เป็นเงิน 8,000 บาท และในปีงบประมาณ 2521 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างบ้านพักครูอีก 1หลัง
ในปี 2524 โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในปี 2531 บริษัท พีพีเนเจอรัล ได้มาก่อสร้างรีสอร์ทรอบโรงเรียนและได้ก่อสร้างรั้วไม้ให้กับโรงเรียน
วันที่ 26 ธันวาคม 2547 บริเวณชุมชนบ้านแหลมตง ได้รับภัยพิบัติ จากคลื่นยักษ์สึนามิ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปกครองเป็นอย่างมาก มีนักเรียน เสียชีวิต 2 คน ผู้ปกครองนักเรียนเสียชีวิต 2 คน และชาวบ้านในหมู่บ้านแหลมตงได้เสียชีวิต 10 คน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นักเรียนที่สูญเสีย ขาดขวัญและกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน คณะครูของโรงเรียนได้ประสานงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ หน่วยงานภาครัฐ มูลนิธิต่างๆ และหน่วยงานเอกชนได้พยายามช่วยเหลือในทุกด้าน เช่น ด้านทุนการศึกษา อุปกรณ์การศึกษา เครื่องยังชีพและฟื้นฟู ด้านสภาพจิตใจ โรงเรียนจึงได้ดำเนินการศึกษามาได้อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาและปรับปรุงในด้านอาคารเรียน แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีทางการศึกษา และวิธีการจัดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาสามารถพัฒนานักเรียนในกลุ่มชาวไทยใหม่ (ชาวเล) ให้มีลักษณะตามความต้องการของหลักสูตรและชุมชน ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อ ที่ 4 ไร่ 2 งาน มีอาคารเรียน 1หลัง ขนาด 4 ห้องเรียน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผู้อำการโรงเรียน 1 คน มีครูประจำการ 4 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2024-09-27 09:59:28 น.