• Facebook โรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์
  • ประวัติ โรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์
  • ประวัติของโรงเรียน

                    โรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์  ได้สร้างและเปิดเรียนเมื่อ พ.ศ.  2490  มีชื่อว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลไสไทย 5 ” ตั้งอยู่ระหว่าง หมู่ที่ 3 และหมู่ที่  8  ( ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 5 ) อาคารหลังแรกนี้  ซึ่งสร้างในที่ว่างเปล่า ไม่มีหลักฐานบอกเขตเด่นชัด ต่อมาอาคารหลังนี้ชำรุดลง   ได้ย้ายมาสร้างใหม่ ในท้องที่  หมู่ที่ 3  ( หมู่ที่ 6 ปัจจุบัน )
                 บ้านแหลมโพธิ์บริเวณที่สร้างอาคารเรียน เป็นที่ดินของ นายเลาะ  สันฝา อาคารเรียนเป็นอาคารชั่วคราว สองห้องเรียน หลังคามุงจาก ฝากั้นด้วยไม้ไผ่  ครูใหญ่   ชื่อนายดำ  สาระวารี   ได้ใช้เป็นที่เรียน   มีครูสอนคนเดียว   เป็นเวลา  4  ปี นายดำ  สาระวารี ได้ลาออก ทางราชการ จึงได้แต่งตั้งให้ นายสมิง  เฉิดโฉม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน

                พ.ศ.  2495  นายสมิง  เฉิดโฉม และนายบูสัน  สาระวารี พร้อมด้วยผู้ปกครองนักเรียน ราษฎรในท้องที่ หมู่ที่ 6 ปัจจุบัน ได้พร้อมใจกันสละแรงงานและกำลังทรัพย์ สร้างอาคารหลังใหม่ในเขตที่ดินของโรงเรียน อาคารหลังนี้ได้ใช้เปิดทำการสอน เป็นเวลา 4 ปี จึงถูกวาตภัยเสียหาย

                พ.ศ. 2499  นายสมิง  เฉิดโฉม ได้ย้ายไปสอนที่อื่น ทางราชการจึงแต่งตั้งให้นายมงคล  ถิ่นหนองจิก มาดำรงตำแหน่งแทน ได้รับความร่วมมือจาก นางกิมกุ่ย  ฮ่อบุตร พร้อมด้วยราษฎรในท้องถิ่น ได้สละเงินและแรงงาน ช่วยกันสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร หลังคามุงด้วยสังกะสี ฝากั้นด้วยกระดาน อาคารเหล่านี้ใช้ทำการสอน  15  ปี  ถูกลมพัดชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมได้

                พ.ศ. 2514 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ก จำนวน 4 ห้องเรียน และได้ใช้อาคารเหล่านี้เป็นที่เรียนของนักเรียน แทนอาคารหลังเก่าที่ชำรุด

                พ.ศ. 2524  ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ 017 จำนวน 1 หลัง จำนวน 4  ห้องเรียน และได้งบประมาณสร้างโรงฝึกงาน แบบ 316 จำนวน  1  หลัง

                  หลังจากเกิดธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2548 โรงเรียนได้รับบริจาคอาคารเรียนแบบ  สปช 159/29 จากบริษัทปูนซีเมนต์ไทย( ตรานกอินทรี ) จำกัด  ซึ่งได้วางศิลาฤกษ์  เมื่อ  10  มีนาคม  2549   ที่ดิน  เขตครอบครองในปัจจุบัน  แต่เดิมเป็นที่ว่างเปล่าเนินสันดอน กลางทุ่งนาเป็นที่เลี้ยงสัตว์ ชาวบ้านในท้องที่ พร้อมใจกันมอบให้เป็นเขตของโรงเรียนโดยให้ทางโรงเรียนมีกรรมสิทธิ์ครอบครอง ตั้งแต่ ปี  2494   จำนวน  5  ไร่ เศษ  ต่อมาในปี พ.ศ.2520      นายสุวีร์  มงคลการุณก์ ได้ดำเนินการติดต่อขอซื้อที่ดิน ของนายดำ  หง้าฝา ซึ่งมีอาณาเขตโรงเรียน  จำนวน 2  ไร่ 20  ตารางวา ในการจัดซื้อด้วยเงินคณะครูในโรงเรียนร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียน ในราคา  5,000  บาท ที่ดินซื้อใหม่นี้เป็นที่ตั้งอาคารเรียน 017  และโรงฝึกงานในปัจจุบัน  รวมที่ดินทั้งหมด 8  ไร่ 2 งาน 51  ตารางวา

     

    ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม

    1) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ไม่เหมาะแก่การเกษตร มีประชากรประมาณ 1,700 คน   จำนวนครัวเรือน 515 หลัง

    บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ สุสานหอย 45 ล้านปี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จังหวัดกระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี อาชีพหลักของชุมชน คือ อาชีพรับจ้าง ประมง ขายของที่ระลึกและบริการเรือนำเที่ยวเนื่องจากพื้นดินเป็นดินทรายไม่เหมาะแก่การเกษตรและชุมชนอยู่ในสถานที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ  ประเพณีถือศีลอด วันฮารีรายอ การเข้าสุนัด ร็องแง็ง

                2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่  จบการศึกษาระดับ  ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

    อาชีพหลัก คือ รับจ้าง  คิดเป็นร้อยละ 90 ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  คิดเป็นร้อยละ 99.46 

    นับถือศาสนาอื่น ๆ  คิดเป็นร้อยละ 0.54   ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี  55,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 5  คน

    3) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน          

                       โรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล มีนักเรียนในเขตบริการ คิดเป็นร้อยละ 99.46  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นับถือศาสนาพุทธ   ร้อยละ 0.54   ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและประมง  บ้านเรือนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณชายทะเล โรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์จัดได้ว่าเป็นโรงเรียนที่มีชุมชนเข้มแข็ง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนด้วยดีเสมอมา จากสภาพโดยรวมของบ้านเรือนที่อยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนทำให้โรงเรียนและบ้านสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วเมื่อนักเรียนหรือโรงเรียนมีปัญหา

    จากการที่นักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน   ทำให้ขาดแคลนทุนทรัพย์และขาดโอกาสในการศึกษาต่อ   ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่จบการศึกษาแค่ภาคบังคับ

             นอกจากนี้โรงเรียนยังตั้งอยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในท้องถิ่น ทำให้สามารถใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน เช่น บ้านพระยาคงคาธราธิบดี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง  สุสานหอย 45 ล้านปี  ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยกลุ่มแม่บ้านผลิตของที่ระลึก บ่อเพาะพันธ์ลูกกุ้งและบ่อเลี้ยงกุ้งเอกชน เป็นต้น


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2023-07-13 10:54:25 น.

โรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โทรศัพท์: 075656511 อีเมล์: banlaempho.school@krabiedu.go.th
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]