โรงเรียนบ้านสบป้าด ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2481 โดยอาศัยศาลาวัดสบป้าดเป็นสถานที่เล่าเรียน เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.4 มีนายเตี่ยม ณ ลำปาง เป็นครูใหญ่ พ.ศ. 2485 นายสำราญ จิตชุ่ม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้จัดโรงสร้างเรียนเป็นเอกเทศ โดยอาศัยความร่วมมือจาก พระอธิการน้อย ปุ๋ยวงศ์ ผู้ใหญ่บ้าน สร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ข ขนาด 3 ห้องเรียน ทางราชการสมทบ 600 (หกร้อยบาทถ้วน) ใช้เป็นสถานที่เรียนมาจนถึง พ.ศ. 2505 อาคารเรียนหลังเก่าชำรุดมาก นายกู้ หมื่นสวัสดิ์ ครูใหญ่ พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาสวัดสบป้าด และราษฎรบ้านสบป้าด ได้รื้ออาคารเรียนหลังเก่าและย้ายไปเรียนที่ศาลาวัดสบป้าดเป็นการชั่วคราว ได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ แบบ ป.1 ข. ขนาด 4 ห้องเรียน เป็นอาคารไม้ อาคารเรียนยังไม่เสร็จ นายกู้ หมื่นสวัสดิ์ ได้ย้ายไปอำเภอเมืองลำปาง นายประพันธ์ จิตชุ่ม ย้ายมาแทน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2507 นายประพันธ์ จิตชุ่ม ย้ายไปจังหวัดแพร่ ให้นายเปลี่ยน ทองคำ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน และได้สร้างอาคารเรียนจนสำเร็จ เปิดป้าย เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2511 โดยไม่ได้รับงบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) พ.ศ. 2512 นายเปลี่ยน ทองคำ ย้ายไปจังหวัดแพร่ นายเติมศักดิ์ สีหเทพเลขา รักษาการแทนครูใหญ่ พ.ศ. 2513 นายมนัส ผาดไธสง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ วันที่ 16 กรกฎาคม 2513 ได้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง 2 ห้องนอน แบบองค์การ ปัจจุบันได้รื้อย้ายมาสร้างที่บ่อปลา นายมนัส ผาดไธสง ได้ย้ายไปอำเภอแม่ทะ ทางราชการแต่งตังให้ นายสานิตย์ แก้วกัน รักษาราชการแทนครูใหญ่ จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2515 นายสานิตย์ แก้วกัน ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านสบเติ๋น จังหวัดแต่งตั้งให้ นายสมัย จินจำ มาตำแหน่งครูใหญ่แทน พ.ศ. 2516 ได้ขออนุญาตเปิดสอนชั้น ป.5-ป.7 ตามลำดับ พ.ศ. 2517 นายสมัย จินจำ ย้ายไปโรงเรียนบ้านป่าตัน อ.แม่ทะ ทางราชการแต่งตั้งให้
นายวิชา ฟองกระจาย รักษาราชการแทนครูใหญ่ จนถึง พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ข. จำนวน 5 ห้องเรียน (อาคารตึก) งบประมาณ 333,000 บาท (สามแสนสามหมื่นสามพนบาทถ้วน) และงบประมาณสร้างบ้านพักครูอีก 1 หลัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว 2 ห้องนอน และในปีนี้ราษฎรบ้านสบป้าดและทางราชการได้พร้อมกันย้ายโรงเรียนเดิม ซึ่งมีสถานที่คับแคบมาสร้างใหม่ในที่ดินปัจจุบัน ในเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน แม่หลวงตอง แก้วหน่อ พร้อมด้วยราษฎรอีกหลายคนร่วมบริจาคให้
พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูอีก 1 หลัง งบประมาณ 40,000 บาท งบประมาณสร้างส้วมอีก 1 หลัง งบประมาณ 12,000 บาท วันที่ 1 ตุลาคม 2529 “วันประถมศึกษาประชาบาล” คณะครู กรรมการโรงเรียนและผู้ปกครองได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์ผ้าป่าขึ้นนำเงินมาสร้างบ่อน้ำตื้นให้กับโรงเรียนซึ่งใช้อยู่ทุกวันนี้
พ.ศ. 2520 นายเทเวศร์ สุขะ ย้ายไปโรงเรียนบ้านป่าตัน อ.แม่ทะ ทางจังหวัดแต่งตั้งให้
นายสุคำ สุริยะ จาก อ.วังเหนือ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2520 จนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2522 นายสุคำ สุริยะ ย้ายไป อ.แม่ทะ ทางจังหวัดแต่งตั้งให้ นายสมควร ดวงใจ เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง และได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ก. อีก 1 หลัง (อาคารตึก แบบองค์การ) และในปีเดียวกันนี้ ได้รับงบประมาณรื้อย้ายอาคารเรียนอาคารไม้ แบบ ป.1 ข. จากโรงเรียนเดิมไปสร้างที่โรงเรียนปัจจุบัน และได้เปลี่ยนหลังคา จากไม้แป้นเกล็ดเป็นกระเบื้องลอนคู่
พ.ศ. 2523 จังหวัดแต่งตั้งให้ นายรังสรรค์ วัฒนลักษณ์ มารักษาราชการแทน นายสมควร ดวงใจ ซึ่งย้ายไปช่วยราชการที่ สปอ.แม่ทะ ในปีนี้ได้รับงบประมาณจาก กสช. จากสภาพตำบลสบป้าดสร้างแท้งค์น้ำ ที่บ่อน้ำตื้นของโรงเรียน ทำเป็นประปามาใช้ในโรงเรียน นายรังสรรค์ วัฒนลักษณ์ ย้ายไปโรงเรียนน้ำโท้ง อ.แม่ทะ
1 พฤษภาคม 2524 ทางจังหวัดแต่งตั้งให้ นายอำพล คุ้มสะอาด มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่จนถึง วันที่ 24 พฤศจิกายน 2525 นายอำพล คุ้มสะอาด ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากถูก นายหวล แสนอุ้ม ภารโรงยิงตาย และในปีนี้ได้รับงบประมาณรื้อย้ายบ้านพักครูแบบองค์การฯ จากโรงเรียนเดิม สร้างริมบ่อเลี้ยงปลา
22 พฤษภาคม 2525 ทางจังหวัดได้แต่งตั้งให้ นายวิเชียร ประสานศรี ผู้ช่วยครูใหญ่รักษาการแทนครูใหญ่
1 ธันวาคม 2525 ทางจังหวัดแต่งตั้งให้ นายสานิตย์ แก้วกัน ครูใหญ่โรงเรียนบ้านสบเติ๋น ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
1 ธันวาคม 2526 ได้รับความร่วมมือจากกรรมการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มหนุ่มสาวสร้างสมุด ขนาด 8 X 10 ศอก เป็นอาคารไม้ สิ้นค่าก่อสร้าง 19,500 บาท ปัจจุบันเป็นศูนย์พาณิชกรรมหมู่บ้าน (สหกรณ์ร้านค้าของโรงเรียน)
30 มีนาคม 2527 ได้รับความร่วมมือจากกรรมการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มหนุ่มสาว กรรมการหัวหน้าหมวด สร้างรั้วลวดหนามทางด้านทิศตะวันตก ทิศเหนือ ยาว 350 เมตร คิดเป็นเงิน 15,500 บาท และได้รับการบริจาคที่ดินจาก นายส่ง นางไฮ ยอดสาแล ได้ที่กว้าง 9 เมตร ยาว 45 เมตร ติดต่อกับอาคารเอนกประสงค์ทางด้านทิศตะวันออก
17 มิถุนายน 2527 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ สร้างต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ เพิ่มอีก 1 หลัง แบบ 312 งบประมาณ 148,000 บาท วันที่ 1 เมษายน 2527 ได้รับอนุมัติจากสปช. กำหนดตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนเป็นตำแหน่งอาจารย์ 24 ธันวาคม 2527 ได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างเรือนเพาะชำ แบบ พ.1 จำนวน 1 หลัง เงิน 10,000 บาท
24 มิถุนายน 2528 ได้ร่วมมือกับกรรมการศึกษา หัวหน้าหมวด และคณะศิษย์เก่าและผู้ปกครองนักเรียนจัดรำวงวันประถมศึกษา แล้วนำเงินมาซื้อที่ดินขยายเนื้อที่โรงเรียนออกไปทางทิศเหนือติดกับส้วมได้เนื้อที่ 1 ไร่ 800 บาท ด้านทิศตะวันออกติดกับอาคารเอนกประสงค์ ขุดบ่อเลี้ยงปลา อีก 1 ไร่ 700 บาท และนายแหวน มุสุ ได้รับบริจาคที่ดินติดต่อกับที่ซื้อใหม่ด้านทิศตะวันออกอีก 1 งาน
1 ตุลาคม 2529 ได้รับงบประมาณจาก สปช. สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 102/26 จำนวน 5 ห้องเรียน งบประมาณ 400,000 บาท และสร้างถังน้ำเก็บน้ำฝน แบบ ฝ. 30 จำนวน 6 ถัง งบประมาณ 36,000 บาท และสร้างส้วมอีก 1 หลัง 2 ห้อง แบบ 601/26 ดำเนินการโดย หจก.ชาตรีเจริญศรี อ.ลอง จ.แพร่
1 ตุลาคม 2532 โรงเรียนได้รับอนุมัติ กค. กรม สปช. กำหนดตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนเป็นอาจารย์ใหญ่ ระดับ 7 ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่เป็นระดับ 6
1-3 มีนาคม 2533 ได้ร่วมมือดับคณะครู ภารโรง กรรมการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนกรรมการหัวหน้าหมวด ช่วยกันจัดงานฉลองอาคารเรียน ตั้งองค์ผ้าป่าขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อหาเงินสร้างที่ประดิษฐ์พระพุทธรูป ประจำสถานศึกษา และสมทบสร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้าอาคารเรียนพร้อมประตูเหล็ก 3 ประตู สร้างที่ประดิษฐานพระพุทธฯ 35,500 บาท สร้างรั้ว 45,000 บาท และสร้างประตูเหล็ก 25,500 บาท
1-3 มีนาคม 2534 ได้รับความร่วมมือจากโครงการจัดการส่งน้ำแม่เมาะ กน. และกรรมการศึกษา หัวหน้าหมวด ผู้ปกครองนักเรียนสร้างถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ตั้งแต่ประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก ถึงที่ประดิษฐานพระพุทธฯ ขนาด 3 1/2 X 130 ม. หนา 10 ซ.ม. และโครงการนี้เป็นโครงการเสด็จพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ปีการศึกษา 2524 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้เปิดขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1 มีนักเรียนชาย 15 คน นักเรียนหญิง 15 คน
11-12 สิงหาคม 2535 ได้รับเงินผ้าป่าจากคณะศิษย์เก่านำมาทอดถวาย จำนวน 15,000 บาท ได้จัดผ้าป่าชุมชนสมทบอีกรวมเป็นเงิน 20,000 บาท และได้รับความร่วมมือจากโครงการส่งน้ำแม่เมาะ กน. สร้างถนนคอนกรีตต่อจากปีก่อนตั้งแต่ศาลาพระพุทธ ถึงประตูทางออกทางด้านทิศตะวันตกและยังได้ทำถนนเชื่อมต่อติดทุกอาคาร และเป็นโครงการเสด็จพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
12 เมษายน 2536 ได้รับเงินผ้าป่าของคณะศิษย์เก่านำมาทอดถวาย เป็นเงิน 41,407 บาท ได้นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนมัธยม จำนวน 1 งาน 4,500 บาท และนำไปซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด 5,000 บาท และนำเงินไปซื้อเครื่องดนตรี 3,000 บาท นำไปสมทบงบประมาณสร้างสนามบาสเกตบอล 25,000 บาท และได้ขอความร่วมมือจากฝ่ายมวลชนสัมพันธ์เหมืองแม่เมาะ สมทบอีสร้างตรงหน้าอาคารไม้ โครงการนี้ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
11-12 สิงหาคม 2536 ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ เหมืองแม่เมาะ กรรมการศึกษา หัวหน้าหมวด ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู ภารโรง นักเรียน สร้างสนามบาสเกตบอล ขนาด 30 X 45 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ หนา 10 ซ.ม. โรงเรียนมีงบประมาณ 25,000 บาท นอกจากนั้นทาง กฟผ. แม่เมาะ สมทบแล้วเสร็จ
ปีงบประมาณ 2536 ได้รับงบประมาณ จาก สปช. สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียนใต้ถุนสูง และยังได้งบประมาณซ่อมแซมอาคารไม้ แบบ ป.1 ข. กั้นห้องเรียน ทำเพดาน ทาสี ซ่อมบันได
27-28 มีนาคม 2537 กรรมการศึกษา กรรมการหัวหน้าหมวด ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู
ภารโรง ได้ร่วมกันจัดงานฉลองอาคารเรียนและจัดตั้งองค์ผ้าป่าสมทบด้วย เพื่อหาเงินซื้อที่ดินแปลงใหม่ขยายพื้นที่ให้กว้างขึ้น ได้เงิน 57,350 บาท นำไปซื้อที่ดิน 2 ไร่ 1 งาน (40,000 บาท) ปัจจุบันใช้เป็นที่ก่อสร้างสนามบาสเกตบอลและปลูกต้นไม้ยืนต้น ทางด้านทิศตะวันออกของอาคารมัธยม
11-12 สิงหาคม 2537 กรรมการศึกษา กรรมการหัวหน้าหมวด ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู
นักเรียน ได้ร่วมกันจัดทำโครงการเสด็จพระราชกุศลก่อสร้างรั้วลวดหนามล้อมรอบที่ดินแปลงที่ซื้อใหม่โดยเปลี่ยนเสาไม้เป็นเสาคอนกรีต กฟผ. สนับสนุนอุปกรณ์ แรงงาน กรรมการศึกษา หัวหมวดและผู้ปกครองนักเรียน
4-5 ธันวาคม 2537 กรรมการศึกษา กรรมการหัวหน้าหมวด ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู
ภารโรง ได้ร่วมมือกันจัดติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำจากลำห้วยแม่จาง โดยการวางท่อแอสล่อนจากลำห้วยมาลงที่บ่อเลี้ยงปลา ระยะทาง 301 เมตร อุปกรณ์ต่างๆ กฟผ. และโรงเรียนร่วมกัน โครงการนี้ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปีงบประมาณ 2537 ได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างแท้งค์น้ำ แบบ ฝ. 30 พิเศษ สร้างติดกับอาคารไม้ งบประมาณ 60,000 บาท
งบประมาณ 2538 ได้รับงบประมาณ สร้างสนามบาสเกตบอล 1 สนาม ขนาด 18 X 31 เมตร หจก.ปิ่นเทพ คอนสตรัคชั่น ดำเนินการก่อสร้าง
ปีงบประมาณ 2538 ได้รับงบประมาณ ต่อเติมอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29 ชั้นล่าง 2 ห้องเรียน และปี พ.ศ. 2538 กรรมการโรงเรียน กรรมการหัวหน้าหมวด และผู้ปกครองนักเรียน และคณะครู นักเรียนได้ร่วมกันสร้างโรงอาหารขนาด 7.30 X 24 เมตร จำนวน 1 หลัง สนับสนุนอุปกรณ์โครงหลังคาเหล็ก กระเบื้องมุงหลังคา สีทาอาคาร เครื่องจักรผสมปูน กฟผ. แม่เมาะ นอกจากนั้นโรงเรียนจัดหาเอง แรงงานจากผู้ปกครองในชุมชน ดำเนินการในวันที่ 11-12 สิงหาคม 2538 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
11-12 สิงหาคม 2539 ได้ร่วมกับ กฟผ. กรรมการศึกษา กรรมการหัวหน้าหมวด และผู้ปกครองนักเรียนปูพื้นตัวหนอนด้านหน้าอาคารเอนกประสงค์และโรงอาหาร และสร้างสถานที่แปรงฟันขนาด
6 X 24 เมตร โรงงานนี้ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ปีงบประมาณ 2540 ได้รับงบประมาณจากทางราชการปรับปรุงห้องซาวน์แลป ทาสีอาคารเรียน ปูพื้นเซรามิค เคลือบผิวห้องวิทยาศาสตร์ อาคารเอนกประสงค์ ห้องพักครู ซ่อมกระจกหน้าต่าง อาคารกลาง อาคารไม้
11-12 สิงหาคม 2541 ร่วมมือกับ กองเดินเครื่อง 3 กฟผ. กรรมการโรงเรียน กรรมการหัวหน้าหมวด และผู้ปกครองนักเรียน ปูตัวหนอนหน้าอาคารไม้ ทำบันไดไปหาสถานที่แปรงฟัน ปูพื้นคอนกรีตไปหาห้องสุขา เทพื้นคอนกรีตเชื่อมระหว่างอาคารสีฟ้ากับบ้านพักครูหลังแรก โครงการนี้ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ปีงบประมาณ 2541 ได้รับงบประมาณทำโรงเรียนเป็นปัจจุบัน ปูเซรามิคเคลือบผิวห้องสมุด ห้องคณิตศาสตร์ ติดไฟฟ้าภายในอาคารกลาง อาคารไม้ อาคารเอนกประสงค์ และสร้างรั้วคอนกรีตด้านทิศตะวันออก 100 เมตร
ปีการศึกษา 2541 ได้รับความร่วมมือจาก กฟผ. แม่เมาะ ช่วยขุดบ่อเลี้ยงปลาติดกับแปลงเกษตร ขนาด 1.50 X 15 เมตร และปีการศึกษานี้คณะครู นักเรียน ภารโรง ได้ร่วมมือกันสร้างฐานเสาธงและเปลี่ยนเสาธงใหม่ ปูพื้นด้วยเซรามิคเคลือบผิว เสาธงเหล็ก สิ้นค่าก่อสร้าง 21,900 บาท
19 มกราคม 2541 สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้มีคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้งให้ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ช่วยฯ เป็นตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสบป้าดเป็นต้นไป
โรงเรียนสบป้าดวิทยา ปัจจุบัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาล 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียน 128 คน มีข้าราชการครู 14 คน นักการภารโรง 0 คน มีอาคารเรียน 5 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง บ้านพักครู 4 หลัง ศาลาพระพุทธ 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง ซุ้มป้ายชื่อโรงเรียน 1 หลัง บ่อเลี้ยงปลา 2 บ่อ ส้วม 3 หลัง
และเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสบป้าดวิทยา ”
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2022-07-24 11:29:04 น.