โรงเรียนบ้านทาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
 

  • ประวัติ โรงเรียนบ้านทาน
  •                    

              โรงเรียนบ้านทานเปิดทำการสอนเมื่อวันที่  15  กันยายน  พ.ศ.  2501 โดยมี นายหมาย  อินต๊ะวงศ์  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ 

    โรงเรียนได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1  มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด  42  คน  จนถึงปี  พ.ศ. 2523

    ได้ขยายเปิดเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6

                         ปัจจุบันโรงเรียนบ้านทานได้เปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่  2  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6 

    มีพื้นที่  2  ไร่  2 งาน 15  ตารางวา จำนวนข้าราชการครู 10 คน  ครูอัตราจ้าง  2  คน    

    สภาพพื้นที่เขตบริการ

    ๑.  สภาพภูมิเศาสตร์ โรงเรียนบ้านทาน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่เมาะระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร มีระยะห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๑ ระยะทาง ๖๐ กิโลเมตร สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะชนบท บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านทาน ร้านค้า บ้านเรือนผู้ปกครอง อาชีพหลักของชุมชนคืออาชีพเกษตรกร และรับจ้างทั่วไปโรงเรียนบ้านทานได้รับการสนับสนุนจากกองฝึกอบรมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอำเภอแม่เมาะ  กองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ  และจากสมาคมพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรอำเภอแม่เมาะ  อย่างดียิ่งในด้าน  สื่อ  อุปกรณ์การเรียนการสอน  อุปกรณ์กีฬา  และการปรับภูมิทัศน์รอบๆบริเวณโรงเรียน

    ๒.  เขตบริการ โรงเรียนบ้านทานมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการศึกษา ให้บริการแก่ประชากรวัยเรียนและชุมชนในเขตบริการซึ่งครอบคลุม ๑ หมู่บ้านได้แก่ บ้านทาน ประชากรในเขตพื้นที่ที่ให้บริการ มีอยู่  ๓  กลุ่ม  คือ  กลุ่มคนพื้นเมือง  กลุ่มอีสานที่อพยพย้ายถิ่น  และกลุ่มชาวเขาเผ่าอาข่า   ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เช่น  ทำนา  ทำไร่  รับจ้าง  และหาของป่า ฐานะของประชากรส่วนใหญ่ยากจน ชุมชนมีความสัมพันธ์กับสถานศึกษาดีมาก

    ๓.  ศาสนา ประชากรบ้านทานมีอยู่  ๓  กลุ่ม  คือ กลุ่มคนพื้นเมือง  นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ ๑๐๐

    กลุ่มอีสาน นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ  ๙๐  นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ ๑๐  และกลุ่มชาวเขาเผ่าอาข่า 

    นับถือศาสนาคริสต์  ร้อยละ  ๙๕   นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ  ๕

    ๔.  วัฒนธรรม    ประเพณีวัฒนธรรม  ประชากรบ้านทานมีอยู่ ๓ กลุ่ม จึงมีความแตกต่างด้านประเพณีวัฒนธรรมตามแต่ละกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มคนพื้นเมือง และกลุ่มคนอีสาน มีประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติร่วมกัน คือ ประเพณีวันสงกรานต์  ตานข้ามหลาม  ตานข้าวใหม่  ผีขุนน้ำ  ลอยกระทง และวันเข้าพรรษา ออกพรรษา กลุ่มชาวเขาเผ่าอาข่า มีประเพณีวัฒนธรรมตามกลุ่มของตน คือ คริสต์มาส  ชิงช้าสวรรค์  ต้มไข่แดง  เรียกขวัญ  สวดสายพระดำ  และกินข้าวใหม่

    ๕.  สภาพการคมนาคม สามารถเดินทางได้ทางบกโดยใช้รถยนต์ จักรยานยนต์



    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2024-06-17 13:46:32 น.

โรงเรียนบ้านทาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 โทรศัพท์: 0833242586 อีเมล์: bantanschool2560@gmail.com
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]