• ประวัติ โรงเรียนนาแก้วพิทยาคม
  • ประวัติโรงเรียน

                     โรงเรียนนาแก้วพิทยาคม    อำเภอโพนาแก้ว    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เดิมชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลนาแก้ว  1 ( วัดยอดลำธาร ) ตั้งขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 2460 โดยมี พระอาจารย์พา  เจ้าอาวาสวัดยอดลำธาร  เป็นครูสอน อาศัยศาลาวัดยอดลำธาร   เป็นสถานที่เรียน  มีนักเรียนจากบ้านนาแก้ว   บ้านโพนงามโคก  และบ้านโพนงามท่า  มาเรียน
    ประวัติด้านอาคารสถานที่ 
                     พ.ศ. 2481  นายหา  นนท์นารี  และนายอินทร์  นิลทะโพธิ์ ราษฎรบ้านนาแก้ว ได้บริจาคที่ดินจำนวน 18.32 ไร่เศษ  เพื่อปลูกสร้างโรงเรียน  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน  ครูใหญ่ได้ของบประมาณจากทางราชการและชักชวนชาวบ้านในเขตตำบลนาแก้ว  หาไม้มาสมทบ  สร้างอาคารเรียน 1  หลัง ขนาด  6 X 36 เมตร  จำนวน  3  ห้องเรียนและสร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2484  จึงได้ย้ายที่เรียน จากวัดยอดลำธารมาเรียนที่อาคารเรียนหลังใหม่
                     พ.ศ. 2494   ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนประชาบาลตำบลนาแก้ว  1 ( วัดยอดลำธาร )เป็นโรงเรียนนาแก้วพิทยาคมและรับนักเรียนจากบ้านนาแก้ว บ้านโพนงามโคก บ้านโพนงามท่า                       พ.ศ. 2506  อาคารชำรุดมาก นายวิจักษ์  ศิริขันธ์ ครูใหญ่ จึงชักชวนราษฎร ทั้งสามหมู่บ้าน    คือบ้านนาแก้วบ้านโพนงามโคก   และบ้านโพนงามท่า    สมทบกับงบประมาณของทางราชการเพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แทนหลังเก่า แทนหลังเก่าที่ชำรุด และขอรื้อถอนไปสร้างบ้านพักครู อาคารเรียนหลังใหม่สร้างเสร็จ เมื่อ ปี  พ.ศ.  2508  ขนาด 4 ห้องเรียนไม่มีเพดาน ได้เพิ่มห้องมุขข้าง และบันไดลงสองข้าง
                     พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณ  105,000 บาท  สร้างอาคารเรียนหลังที่ 2  แบบ   ป. 1ฉ.
                     พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณ  125,000 บาท  สร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 แบบ ป.1 ฉ.
                      พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณ  186,000  บาท  สร้างอาคารเรียนหลังที่ 4 แบบ ป. 1 ฉ.
                     พ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณ  16,000  บาท สร้างส้วม  1  หลัง  3  ที่  แบบ  401 / 3
                     พ.ศ. 2524  คณะครู-นักการภารโรงได้จัดงานหาเงินเพื่อติดตั้งไฟฟ้าในโรงเรียน ได้เงิน12,000  บาท
                     พ.ศ. 2526  ได้รับงบประมาณจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร จำนวน 10,000 บาท เพื่อติดตั้งต่อเติมไฟฟ้าในอาคารเรียน โรงเรียนจึงได้มีไฟฟ้าใช้ครบทุกอาคารเรียนและครบทุกห้องเรียน
                      พ.ศ. 2527  ได้งบประมาณ  213,000  บาท    สร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์  แบบ  สปช. 202 / 120   และในปีนี้   คณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนนาแก้ว    มีมติให้ตั้งสำนักงานกลุ่มโรงเรียนนาแก้ว   จึงใช้ห้องเรียน  จำนวน  2   ห้อง เรียนในอาคารเรียน  2    ทิศตะวันออก  เป็นสำนักงานกลุ่ม   และห้องสมุดของกลุ่ม  ได้ทำการเปิดป้ายสำนักงานกลุ่มโรงเรียนนาแก้ว  เมื่อวันที่  6  กรกฎาคม  2527
                      พ.ศ.2528 ได้งบประมาณ  สร้างส้วม 1 หลัง จำนวน  10  ที่  และเรือนเพาะชำ 1 หลัง แบบ พ.1 อาคารเรียนแบบ สปช. 105 / 26  จำนวน  1  หลัง  6 ห้องเรียน  งบประมาณ เป็นเงิน 779,500 บาท และได้ขออนุญาต  รื้อถอนอาคารเรียนหลังเก่า  แบบ ป. 1 ฉ.   มีมุขข้างซึ่งชำรุดมาก  และนำไปสร้างที่ใช้รับประทานอาหารของนักเรียน และในปีนี้สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนครได้ให้กลุ่มโรงเรียนจัดตั้งศูนย์วิชาการกลุ่มขึ้น กลุ่มละ 1 แห่ง  โรงเรียนได้ให้ใช้ห้องเรียนอาคาร  2   เดิมเป็นห้องศูนย์วิชาการกลุ่ม   และได้ย้ายห้องธุรการไปอยู่ที่ห้อง  421  ของอาคารเรียนหลังใหม่
                      พ.ศ.  2530  ได้รับงบประมาณสร้างสนามฟุตบอล  1  แห่ง   แบบ ฟ. 2   และได้ขออนุมัตินำไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อถอนอาคารเรียน  นำไปสร้างอาคารสำนักงานกลุ่มโรงเรียนได้อาคารขนาดกว้าง   6   เมตร   ยาว 15  เมตร พื้นไม้ มุงหลังคาสังกะสี  ไม่มีฝา  และฝ้าเพดาน   ต่อมาได้รับงบประมาณต่อเติมสำนักงานกลุ่ม  งบประมาณ 50,000 บาท    เพื่อตีฝา   ติดฝ้าเพดาน  ติดตั้งไฟฟ้า    และในปีนี้ยังได้รับงบประมาณซ่อมแซมหอประปา    เป็นเงิน  17,000 บาท    เนื่องจากประสบวาตภัย    คณะกรรมการการศึกษาและคณะครู    ยังได้ร่วมกันซ่อมแซมถังเก็บน้ำฝน  แบบ ฝ.30 พิเศษ ซึ่งชำรุดจนใช้การได้
                      วันที่  20   สิงหาคม   พ.ศ. 2530    สภากาชาดไทยมอบอุปกรณ์สนามเด็กเล่น  จำนวน  1   ชุดเป็นเงิน  30,000 บาทโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครเป็นประธานในพิธีมอบ และคณะครูได้เสียสละเงินจำนวน 5,500  บาท  เพื่อซื้อเครื่องขยายเสียงมอบให้โรงเรียน  จำนวน  1  เครื่อง  
                        พ.ศ. 2531  ได้รับงบประมาณขุดบ่อเลี้ยงปลา  จำนวน 1  บ่อ เป็นเงิน  40,000  บาท
                       พ.ศ. 2532   คณะกรรมการศึกษา และสภาตำบลนาแก้ว ได้บริจาคท่อน้ำประปา  จำนวน  6   ท่อน และอุปกรณ์ เพื่อสร้างหอ กระจายข่าว  เป็นเงิน  10,000  บาท และได้รับงบประมาณจำนวน  42,000  บาท สร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33  จำนวน  1  ชุด   คณะกรรมการศึกษาได้บริจาคเงินซื้อกลองพาเหรด   และเก้าอี้ ให้แก่โรงเรียน เป็นเงิน  8,900  บาท
                        พ.ศ. 2534   คณะกรรมการศึกษา   และ คณะครูได้บริจาคเงินรวมเป็นเงิน   10,000   บาท  เพื่อสมทบสร้าง โรงอาหารของ โรงเรียนซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
                       พ.ศ. 2535  คณะศิษย์เก่าโรงเรียนนาแก้ว  ได้มอบเครื่องทำน้ำเย็นจำนวน  3   เครื่อง   และได้บริจาคเงิน  จำนวน  35,000  บาท เพื่อทำรั้วโรงเรียนที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
                       พ.ศ. 2536   นายพันธ์เทพ - นางรัตติกร   กรินชัย  และ คณะครูบริจาคเงินซื้อถังน้ำไฟเบอร์   เป็นเงิน  7,000  บาทและได้รับงบประมาณ  60,000  บาท  สร้างถังเก็บหน้าเก็บน้ำฝน  แบบ  ฝ.33  อีก 1 ชุด
                        พ.ศ. 2537  คณะกรรมการศึกษา ชาวบ้านนาแก้ว  และคณะครูได้ร่วมกันบริจาคเพื่อสร้างรั้วโรงเรียน และได้งบประมาณ   25,900  บาท   ซ่อมแซมอาคารเรียน  แบบ   ป. 1 ฉ.  โดยซ่อมแซมบันได  1  ชุด และได้รับงบประมาณ  15,000  บาท  จัดซื้อเต็นท์โครงเหล็กคณะครูและในปีนี้ชาวบ้านบริจาคเงินสร้างซุ้มประตูโรงเรียนแต่สร้างเสร็จในปี  พ.ศ. 2538 งบประมาณ  16,000  บาท
                          พ.ศ. 2539  ได้รับเงินบริจาคจากคณะครู   จำนวน  10,000  บาท  ซ่อมแซมประตู ูเหล็กทางทิศตะวันออก  และ ขออนุญาตรื้อถอนอาคารหอประชุมชั่วคราว ทำการรื้อถอนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1  กันยายน  2539
                          พ.ศ. 2540  ได้รับงบประมาณ  90,330  บาท    ปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน    และงบประมาณ  129,698   บาท ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ  3   ห้อง คือ  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการทางภาษาและห้องวิทยาศาสตร์
                          พ.ศ. 2541 ได้รับอนุมัติให้เปิดขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียน จำนวน 29  คน
                          พ.ศ. 2542  ได้รับงบประมาณ  81,000  บาท  (งบมิยาซาว่า) ก่อสร้างถังน้ำ ฝ.30 (พิเศษ)
                          พ.ศ. 2543  โรงเรียนได้รับงบประมาณ   186,000   บาท    สร้างสนามบาสเกตบอล    และได้รับงบประมาณ   35,800   บาท   ซ่อมแซมอาคารศูนย์วิชาการกลุ่ม  เดือน  กันยายน  2543  คณะครูและชาวบ้านกันบริจาคเงินจำนวน 34,050 บาท เพื่อยกอาคารเรียนหลังที่  1  แบบ  ป. 1.ฉ จำนวน  3  ห้องเรียน ให้สูงขึ้นจากเดิม   เพื่อจะได้ใช้ใต้ถุนอาคารเป็นห้องจัดกิจกรรมต่างๆและเป็นห้องประชุมของโรงเรียน
                          พ.ศ. 2544   คณะครูร่วมบริจาคเงินสร้างศาลาพักผ่อน  1  หลัง งบประมาณ   6,500   บาท  และสร้างศาลาป้ายประกาศ  1  หลัง  งบ ประมาณ  5,000  บาท   เดือนพฤษภาคม 2544  ติดพัดลมเพดานในห้องเรียน จำนวน  7  ตัว  และปรับปรุงระบบไฟฟ้าในโรงเรียนงบประมาณ  10,000    บาท  ได้รับบริจาคจากคณะครู
                          เดือนมกราคม  2545  คณะครูและชาวบ้านร่วมกันบริจาค  เงินครัวเรือนละ  50  บาท   เพื่อสร้างหอประปาโรงเรียน สูง  9 เมตร  โดยใช้โครงเหล็ก  งบประมาณทั้งสิ้น  45,849    บาท  เดือนพฤษภาคม  2545 ได้เริ่มทำกำแพงโรงเรียนด้านทิศตะวันออก   โดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียน วัดชุมชน  หาเงินก่อสร้าง  และได้รับงบประมาณ 90,000 บาท สร้างส้วม 1หลัง 4 ที่  ซ. ได้ซื้อที่ดินด้านหน้าทางเข้าโรงเรียนเพิ่มพื้นที่ประมาณ   70  ต.ร.วาราคา  26,000  บาท  โดยชาวบ้านได้บริจาคครัวเรือนละ  50  บาท  คณะครูบริจาค   6,000   บาท    และคณะครูได้บริจาคเงินซื้อคอมพิวเตอร์  1 ชุด  พร้อมปริ้นเตอร์  ราคา  42,000  บาท
                          วันที่  19  เดือน มีนาคม   2547  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มอบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา จำนวน  20  เครื่อง    ในปีเดียวกัน ได้ปรับปรุงห้องสมุดใหม่  โดยใช้งบประมาณจากการบริจาคชาวบ้านและคณะครู  เป็นจำนวนเงิน  32,000.- บาท และได้รับบริจาคเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม จากศิษย์เก่า ในปี 2548  อีก เป็นจำนวนเงิน  50,000.- บาท
                           ปี 2548  สร้างโรงครัวหลังใหม่ เพื่อโครงการอาหารกลางวัน  ใช้งบประมาณจากการบริจาคของคณะครู  เป็นจำนวนเงิน  17,000.-   บาท
                           สร้างห้องสหกรณ์โรงเรียน  และห้องเก็บพัสดุ  ต่อเติมออกจากอาคารอเนกประสงค์ ใช้เงิน งบประมาณ    เป็นเงินจำนวน  17,310.-   บาท
                           วันที่  15 มกราคม 2548 ชาวบ้านนาแก้วหมู่ที่ 1 และหมู่ที่  9 บริจาคเงินจำนวน 20,057 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงาน
                           วันที่  14  เมษายน 2548  คณะศิษย์เก่าโรงเรียนนาแก้ว ร่วมบริจาคเงิน  สร้างอาคารสำนักงาน เป็นเงิน จำนวน    309,495.- บาท
                           วันที่  1  มิถุนายน  2548 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ประทานเงินจำนวน 150,000 บาท  เพื่อสมทบสร้างอาคารสำนักงาน
                           วันที่  13 กรกฎาคม  2548  พระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ  บริจาคเงินเพิ่มเติม จำนวน 50,000 บาท ปรับปรุงห้องสมุด มุงฝ้าเพดาน
                           วันที่  31 สิงหาคม  2548  ได้ทำพิธีเปิดอาคารสำนักงานซึ่งสร้างแล้วเสร็จใช้งบประมาณทั้งสิ้น 601,281.-  บาท
                           วันที่  2  พฤศจิกายน 2549  ได้รับงบประมาณ ปรับปรุงป้ายโรงเรียน จำนวน 40,000 บาท
                           วันที่   3 มกราคม 2550   ได้รับงบประมาณ จัดทำห้องดนตรีโรงเรียน  จำนวน  45,000  บาท
                            วันที่   14  เมษายน   2552   คณะศิษย์เก่าโรงเรียนนาแก้ว ร่วมบริจาคเงิน  สร้างอาคารอเนกประสงค์  จำนวน  848,667   บาท
                             พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณ สร้างส้วมนักเรียนหญิง  4 ที่ (แบบ สพฐ.) จำนวน 1 หลัง  จำนวนเงิน 334,500  บาท
                            พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณ สร้างสนามฟุตซอลกลางแจ้ง พร้อมอุปกรณ์  จำนวน 1,666,500  บาท
                             พ.ศ. 2554 สร้างกำแพงคอนกรีตด้านทิศเหนือ ด้านหน้าโรงเรียน ใช้งบประมาณ จากการบริจาคของชุมชนและคณะครู  จำนวน 83 ช่อง ๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 124,500 บาท

    ประวัติผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน
                             พ.ศ. 2463  นายช่วง   ทองแสง  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่    
                             พ.ศ. 2479  นายมาลี   อาษาเสน  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ      เป็น  นายมีชัย อาษาเสน
                             วันที่ 16  มิถุนายน  พ.ศ. 2491 นายสันต์  ไชยมาศ  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
                             วันที่ 1  กรกฎาคม   พ.ศ.  2492  นายหมอก  นารถโคษา  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
                             วันที่ 3   สิงหาคม  พ.ศ. 2496   นายจวน   แก้วเวียงเดช  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
                             วันที่ 15  สิงหาคม พ.ศ. 2500  นายอุ่น   พลมณี   ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ท่านได้เสียชีวิตลงเมื่อ          
                              วันที่ 13  กรกฎาคม พ.ศ. 2501  ในระยะเวลานี้นายเหรียญเงิน  อินธิราช  ได้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
                              วันที่  26  มกราคม  พ.ศ. 2502  นายหมอก  นารถโคษา  ได้กลับมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่   อีกครั้งหนึ่ง
                              พ.ศ.  2506  นายวิจักษ์  ศิริขันธ์   ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
                              พ.ศ. 2515  นายอุทิศ  บุญนาค   ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่่
                              พ.ศ  2522  นายประทิน  ภูรัพพา  ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
                               วันที่  5  มิถุนายน  พ.ศ.  2530  นายมโน  ทามณี ได้มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเมื่อวันที่  19   มกราคม พ.ศ.  2541                                    วันที่  9  ตุลาคม พ.ศ. 2543  นายคะนอง  ถาทุมมา ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเมื่อวันที่   1  ตุลาคม พ.ศ. 2545                                  วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นายสำรอง  เภาโพธิ์  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จนถึงปัจจุบัน
                               รวมผู้บริหารตั้งแต่ตั้งโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น   14  คน
     ประวัติด้านการจัดการศึกษา   
                                พ.ศ.  2479    เปิดสอนระดับชั้น ป. 1- ป. 4 ( ภาคบังคับ )
                                พ.ศ.  2512    เปิดสอนระดับชั้น ป. 1 – ประถมปลาย  ป.5-ป.7
                                พ.ศ. 2520     เปิดสอนระดับชั้นประถม  ป.1-ป.6
                                พ.ศ. 2527     เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก เพิ่มขึ้น มีนักเรียนระดับนี้  22  คน
                                 พ.ศ. 2534     เปิดสอนชั้น  อนุบาลศึกษาปีที่ 1   -   ป. 6
                                 พ.ศ. 2541     เปิดขยายโอกาสถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
                                 พ.ศ. 2542     เปิดขยายโอกาสถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                                 พ.ศ. 2543     เปิดขยายโอกาสถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 
                 ประวัติการจัดการศึกษาด้านการใช้หลักสูตร                    
                                  พ.ศ. 2494 ใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2494
                                  พ.ศ. 2503 ใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503 ของกรมวิชาการ   กระทรวงศึกษาธิการ
                                  พ.ศ. 2521 ใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ของกรมวิชาการ   กระทรวงศึกษาธิการ
                                  พ.ศ. 2533 ใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ( ฉบับปรับปรุง  พ.ศ. 2533 )   ของกรมวิชาการ   กระทรวงศึกษาธิการ
                                  พ.ศ. 2546  ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2544
                                  พ.ศ. 2553  เริ่มใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2551 ในชั้น ป.1-6 และ ม.1
                   ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม  
                      1.  โรงเรียนนาแก้วพิทยาคม มีหมู่บ้านในเขตบริการ 4 หมู่บ้าน คือบ้านนาแก้วหมู่ 1 ,หมู่ 9,หมู่ 13 และ บ้านนาแก้ว หมู่ 14  มีประชากร  2,350  คน  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ    ภาษถิ่นที่ใช้คือภาษากะเลิง    ภาษาย้อ    สภาพพื้นที่เป็นดินลูกรัง  ส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก  คือการเกษตรกรรม  สภาพเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน  รายได้เฉลี่ย  4,000 - 5,000.-  บาทต่อปี    ชุมชนมีความสัมพันธ์กับสถานศึกษาเป็นอย่างดี   และชุมชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน  เช่น การพัฒนาโรงเรียน การสร้างรั้วโรงเรียน สร้างถังน้ำประปาโรงเรียน โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ และโรงเรียนได้ร่วมกิจกรรมกับชุมชนเป็นที่น่าภูมิใจ  ได้รับคำชมเชยจากชุมชนด้วยดีตลอดมา

                       2.  ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ  ประถมศึกษาปีที่ 6      ร้อยละ  ….100…ประกอบอาชีพ  เกษตรกรรม      ร้อยละ……100….นับถือศาสนาพุทธ  ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อปี……4,000–5,000……บาท
                       3.  โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน    โรงเรียนนาแก้วพิทยาคมมีแหล่งเรียนรู้อยู่ในชุมชนหลายแห่งและมีการคมนาคมติดต่อสื่อสารที่สะดวก   แต่ประชากรส่วนใหญ่ค่อนข้างยากจน


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2024-11-20 10:44:33 น.

โรงเรียนนาแก้วพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โทรศัพท์: 042-704-675 อีเมล์: nakaew@outlook.co.th
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]