ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านเชียงสือราษฎร์อำนวย
อักษรย่อ ช.ส.
ปรัชญาโรงเรียน นตฺถิ ปญญา สมาอาภา
( แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี)
คำขวัญของโรงเรียน คุณธรรมนำความรู้ เข้าสู่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เคียงข้างชุมชน
บนถนนเทคโนโลยี
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน เสมา-ปากกาวางบนตำรา
สีประจำโรงเรียน เหลือง – แดง
เหลือง หมายถึง ความร่มเย็น ความอ่อนโยน
แดง หมายถึง ความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว
หมายเลขโทรศัพท์ โทร. 042701701
ประวัติการก่อตั้ง : โรงเรียนบ้านเชียงสือราษฎร์อำนวย เดิมโรงเรียนนี้ได้อาศัยศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ชัย บ้านเชียงสือเป็นที่เรียน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2494 ผู้บริหารโรงเรียนในขณะนั้น คือ นายอินทร์ พงศ์ดาบเพชร มีครูทั้งหมด 3 คน คือ นายแปล เดชธิสา นายอ้วน ไชยโคตร และนายรส สุตะโคตร ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อของโรงเรียนตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ.2477 โรงเรียนประชาบาลตำบลด่านม่วงคำ 3
พ.ศ.2487 โรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านโพน 6
พ.ศ.2494 โรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านโพน 6 (บ้านเชียงสือราษฎร์อำนวย)
ที่ดินมีพื้นที่ 33 ไร่ 86 ตารางวา ได้จับจองมีถนนรอบทั้ง 4 ด้าน สิ่งปลูกสร้างในปี พ.ศ.2492 คณะครูและราษฎรได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารขนาด 3 ห้องเรียน โดยได้งบประมาณจากทางราชการ 4,500 บาท (สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน) ราษฎรสมทบตัวไม้ในการก่อสร้างทั้งหมด และคณะครูได้สมทบจำนวน 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) เพื่อต่อเติมอาคารให้มีห้องมุขการก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2494 จึงได้ย้ายมาเรียนที่อาคารหลังใหม่ได้ทำการฉลองเปิดป้ายโรงเรียนเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2495 โดยมีขุนธรรมศักดิ์ศึกษากร ศึกษาธิการจังหวัด ร้อยตำรวจตรีพิศาล นพสุวรรณ นายอำเภอ และนายสงัด ศิริรัตน์ ศึกษาธิการอำเภอเป็นประธานและร่วมพิธีเปิดป้าย
พ.ศ.2503 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียน ได้เริ่มทำรั้วบริเวณโรงเรียนโดยใช้หลักไม้และราวลวดหนาม
พ.ศ.2511 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนเป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยเปลี่ยนหลังคาจากไม้กระดานเป็นสังกะสีและตีเพดานด้วย
พ.ศ.2516 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1ช จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ราษฎรสมทบตัวไม้
พ.ศ.2521 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูจำนวน 1 หลัง แบบ อ.1 เป็นเงิน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน)พ.ศ.2522 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ฉ. จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน เป็นเงิน 130,000 บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน) และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณต่อเติมชั้นล่างของอาคารเรียน แบบ ป.1 อ. จำนวน 3 ห้องเรียน เป็นเงิน 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ.2523 ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ อ.3 จำนวน 1 หลัง 3ที่นั่ง เป็นเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ.2525 ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 601 จำนวน 1 หลัง 3ที่นั่ง เป็นเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 601 จำนวน 1 หลัง 5 ที่นั่ เป็นเงิน 2,000 บาท (สี่หมื่นสองพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน เป็นเงิน 499,500 บาท (สี่แสนเก้าหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ.2526 ได้ติดตั้งเดินสายไฟเข้าสู่อาคารเรียนโดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการ
พ.ศ.2527 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเรือนเพาะชำ แบบ พ. 1 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ.2528 ได้รับอนุมัติให้รื้อถอนอาคารเรียน หลังที่ 1 ซึ่งไม่มีแบบ เพราะสภาพชำรุดมาก
พ.ศ.2528 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105/26 จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น 6 ห้องเรียน เป็นเงิน 779,500 (เจ็ดแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)
- ได้ทำการก่อสร้างอาคารเด็กเล็กชั่วคราว 1 หลัง 2 ห้องเรียน โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ
- ได้ก่อสร้างโรงอาหารชั่วคราว 1 หลัง ขนาด 7 x 24 เมตร โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ
- ได้ปรับปรุงภายในบริเวณโรงเรียนโดยใช้งบพัฒนาจังหวัดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
พ.ศ.2529 ได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 25,00 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
- ได้รับงบประมาณตามโครงการ กสช. ขุดสระเก็บน้ำ จำนวน 1 บ่อ ขนาด 70x40x2.5 เมตร เป็นเงิน 140,000 บาท ผหนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
- ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 205/26 จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 612,760 บาท (หกแสนหนึ่งหมื่นสองพันเจ็ดร้อยหกสิบบาทถ้วน)
พ.ศ.2530 ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างบ้านพักครูแบบเรือนแถว 6 หน่วย แบบ สปช. 303/28 จำนวน 1 หลัง และส้วมแบบ สปช.106/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง เป็นเงิน 1,060,652.17 บาท (หนึ่งล้านหกหมื่นหกร้อยห้าสิบสองบาทสิบเจ็ดสตางค์)
- ได้รับงบประมาณติดตั้งไฟฟ้าอาคารเรียน แบบ ป.1ช. ป.1ฉ. และสปช.105/26 รวม 10 ห้องเรียน เป็นเงิน 24,100 บาท (สองหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ.2531 ได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
- คณะครูและชาวบ้านร่วมกันบริจาคซื้อเครื่องตัดหญ้าและเครื่องมือช่างมอบให้โรงเรียน เป็นเงิน 8,50 บาท (แปดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ. 2532 ได้รับบริจาคกลองพาเหรด 1 ชุดจากคณะผ้าป่ากรุงเทพฯ-เชียงสือ
พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 43,000 บาท (สี่หมื่นสามพันบาทถ้วน)
- ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
- ได้รับงบบริจาคจากผ้าป่ากรุงเทพฯ-เชียงสือ ปรับสนามกีฬาและวัสดุอุปกรณ์ประปาโรงเรียน เป็นเงิน 82,000 บาท (แปดหมื่นสองพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2534 ได้รับงบก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.30 พิเศษ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 65,000 บาท (หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2535 คณะครูและชาวบ้านสร้างรั้วด้านทิศเหนือเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 270 ต้น ลวดหนาม 7 ม้วน เป็นเงิน 18,740 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
- คณะครูและชาวบ้านบริจาคเครื่องขยายเสียงมอสเฟรด ขนาด 250 วัตต์ ไมโครโฟนไร้สายและตู้ลำโพง 4 ตัว เป็นเงิน 16,000 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน)
- เปิดขยายโอกาสทางการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรก มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด 35 คน
พ.ศ. 2536 ได้รับงบก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 65,000 บาท (หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
- สร้างถังประปาโรงเรียนพร้อมอุปกรณ์ประปา จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2538 สร้างประตูสนามฟุตบอลพร้อมปรับบริเวณ งบประมาณ 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. 2539 ได้งบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียน แบบ ป.1ฉ. ให้เป็นโรงเรียนปัจจุบัน เป็นเงิน 99,980 บาท (เก้าหมื่นเก้าพันเก้าร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
- รื้อถอนอาคารเรียน แบบ ป.1ช. ตามสัญญาที่ 17/2539 ขายราคา 46,000 บาท (สี่หมื่นหกพันบาทถ้วน) สปจ.สกลนครเป็นผู้ขาย
พ.ศ. 2540 สร้างสวนหย่อมหน้าอาคารเรียน แบบ สปช. 105/26 ป. 1 ฉ. และสปช. 102/26 งบประมาณจากชุมชน เป็นเงิน 12,000 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน)
- สร้างโรงเก็บจักรยานนักเรียน จำนวน 1 หลัง ขนาด 4x18 เมตร งบประมาณ 39,000 บาท (สามหมื่นเก้าพันบาทถ้วน)พ.ศ. 2541 สร้างสนามเด็กเล่นพร้อมถมที่ รั้วราวเหล็ก เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก งบประมาณ 57,619 บาท (ห้าหมื่นหกพันสิบเก้าบาทถ้วน) จากคณะผ้าป่าสิงคโปร์-เชียงสือ
- ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105/26 จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น 6 ห้องเรียน เป็นเงิน 2,015,500 บาท (สองล้านหนึ่งหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)
- สร้างเล้าไก่บนบ่อปลาชั่วคราว ได้รับงบประมาณจากเกษตรจังหวัดสกลนคร เป็นเงิน 7,500 บาท (เจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) งบซื้อไก่ และอาหารไก่ เป็นเงิน 22,500 บาท (สองหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน) รวมงบประมาณทั้งสิ้น 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2542 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน แบบ สปช. 105 จำนวน 2 ห้อง เป็นเงิน 181,000 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)
- ได้รับงบประมาณติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า 30 แอมป์ พร้อมเสาและสายหน้าอาคารตลอดแนว เป็นเงิน 97,489 บาท (เก้าหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยแปดสิบเก้าบาทถ้วน)
- ตัดถนนหน้าอาคารอเนกประสงค์ใหม่ตลอดสาย และปรับถนนต่างๆทุกสายภายในบริเวณโรงเรียน งบประมาณ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.30 พิเศษ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 67,000 บาท (หกหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)
- ได้รับงบประมาณซ่อมแซมหลังคากันสาด หลังคา และกระดานพื้นบางส่วนของอาคารเรียน แบบ ป.1ฉ. เป็นเงิน 52,900 บาท (ห้าหมื่นสองพันเก้าร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ. 2544 ได้รับงบประมาณสร้างสนามตะกร้อจากการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นเงิน 47,000 บาท (สี่หมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2545 รื้อถอนบ้านพักครู แบบ อ.1 และส้วม แบบ สปช. 401 ตามสัญญาเลขที่ 1/2546 โดย สปจ.สกลนครเป็นผู้ขาย ได้มารื้อถอนในวันที่ 16 ธันวาคม 2545
พ.ศ. 2547 สร้างรั้วด้านหน้าพร้อมประตูรั้วข้างละ 16 เมตร งบประมาณ 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
- สร้างห้องสมุดยกโครงมุงหลังคา เทคานคอดิน งบประมาณ 158,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นแปดพันบาทถ้วน) ทั้งสองยอดเป็นเงินบุญประจำปีและผ้าป่าสามัคคีของลูกหลานจากกรุงเทพฯ
- สร้างเล้าไก่บนบ่อปลาที่สระประมงหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้บริเวณโรงเรียนงบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงสือ เป็นเงิน 22,000 บาท (สองหมื่นสองพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2550 สร้างรั้วด้านหน้าเพิ่มเติม ความยาว 100 เมตร ใช้งบประมาณ 125,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) จากคณะผ้าป่าศิษย์เก่า และบุญประทายข้าวเปลือกและผู้ร่วมบริจาค
ปัจจุบัน พ.ศ. 2562 นายเศกสรร เพียสา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเชียงสือราษฎร์อำนวย
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-12-19 12:39:08 น.