1. ด้านผลการจัดการศึกษา
1) ผู้เรียนมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีน้ำหนักส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ รู้จักดูแลความปลอดภัยด้วยตนเอง มีอารมณ์สุนทรียภาพที่แข็งแรง เด็กมีการแสดงออกบนเวที เช่นกิจกรรมโปงลาง การเต้นประกอบเพลง
2) ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียน มีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เช่น เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือผู้อื่น และสังคมด้วยจิตอาสา
3) ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ จากการอ่าน และการใช้เทคโนโลยี มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอกสถานศึกษา เช่น มีการศึกษาจากห้องสมุด สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต และเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นต้น
4) ผู้เรียนมีความสามารถในด้านการคิด และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ด้วยการใช้ทักษะชีวิต เช่นการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาของตนเอง และสังคม ได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านกระบวนการคิด
5) ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยยุคใหม่ เช่น เด็กมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่แข็งแรง สมบูรณ์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย เป็นต้น
1. ด้านการบริหารจัดการศึกษา
ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการบริหารที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (SBM)มีการบริหารเชิงกลยุทธ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และใช้หลักการที่มีส่วนร่วม เช่น การพัฒนาบุคลากรด้วยปฐมนิเทศการสอนงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่ ส่งเข้ารับการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน การศึกษาจากเอกสาร ตลอดทั้งเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในโอกาสต่างๆ ส่งเสริมสนับสนุนให้คณะกรรมการสถานศึกษา ได้ปฏิบัติภารกิจตามบทบาทหน้าที่เต็มศักยภาพ ตลอดทั้งได้จัดสภาพทางบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยความสะอาด สวยงาม ถูกสุขลักษณะ
3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีประสิทธิผล ด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย เช่น ครูมีการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและความเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริหารที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ ตลอดทั้งผู้บริหารมีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษามีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นมีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลกรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่งผลให้ดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ทั้งนี้โดยการบริหารจัดการตามระบบบริหารคุณภาพ (PDCA)
จุดที่ควรพัฒนา
1. ด้านการจัดการศึกษา
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. ด้านการบริหารจัดการศึกษา
ไม่มี
3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1) การวิเคราะห์ผลการประเมินและนำมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงการเรียนการสอน
2) การศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน
ไม่มี
โอกาส
1. ชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรอื่นๆ (เทศบาลตำบลตองโขบ) ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาการศึกษา ช่วยจัดหางบประมาณ
2. ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น สถานที่ทอเสื่อกก บ่อเลี้ยงปลาดุก แหล่งเรียนรู้อาชีพเสริมสวยและแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
3. ชุมชน ผู้ปกครอง ได้ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยจัดกิจกรรมชุมชนกองข้าว การจัดทำผ้าป่าเพื่อการศึกษา การเสียสละแรงงานในการพัฒนา เป็นต้น
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-11-29 21:18:43 น.