ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านหนองเหมือดเมี่ยง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2484 โดยนายอำเภอวานรนิวาส เป็นผู้จัดตั้ง โดยอาศัยศาลาวัดเป็นที่เรียน มีครู 2คน โดยนายฟอง หาญคำเป็นครูใหญ่คนแรก จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีเขตบริการ 3 หมู่บ้าน คือ หมูที่ 7 บ้านหนองเหมือดเมี่ยง หมู่ที่ 8 บ้านวังเวิน และหมู่ที่ 10 บ้านห้วยดินดำ
พ.ศ. 2494 ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 14 เมตร ใช้เป็นที่เรียนแทนศาลาวัด จนกระทั่งพ.ศ. 2509 เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมอาคารเรียน ทำให้ต้องปิดโรงเรียน
พ.ศ. 2511 แผนกศึกษาธิการอำเภอวานรนิวาส ได้อนุมัติเงินซื้อที่ดินจากเอกชน จำนวน 6 ไร่ 97 ตารางวา ชาวบ้านจึงช่วยกันย้ายอาคารเรียนหลังเก่ามาสร้างเป็นอาคารเรียนในที่ดินแปลง ใหม่
พ.ศ. 2513 ทางราชการอนุมัติเงินก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ซ จำนวน 1 หลัง 2 ห้องเรียน
ปีการศึกษา 2522 ขยายการศึกษาภาคบังคับ จากชั้นประถาศึกษาปีที่ 4
เป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สน. 002 จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน
พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช.202 /26 จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2540 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา
พ.ศ. 2542 ได้รับงบประมาณทำห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จำนวน 1 ห้อง
พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102/26 จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2543 นายรัชตะ สมพมิตร ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองเหมือดเมี่ยง ปฏิบัติหน้าที่จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านหนองเหมือดเมี่ยง ได้จัดกิจกกรมการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1
ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีครูทั้งหมด 7 คน นักการภารโรง 1 คน
1.2 ที่ตั้ง ขนาด อาณาเขต
โรงเรียนบ้านหนองเหมือดเมี่ยง ตั้งอยู่บ้านหนองเหมือดเมี่ยง หมู่ที่ 7 ตำบลตำตากล้า
อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ จำนวน 6 ไร่ 97 ตารางวา ทิศเหนือจดถนนสาธารณะ
ทิศใต้ จดที่ดินนายจารย์ สุยะราช ทิศตะวันออกจดที่ดินนางหนูเปลี่ยน ศรีพรหม ทิศตะวันตกจดที่ดินนายหัด สุยะราช ระยะทางห่างจากอำเภอคำตากล้าประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสกลนคร 130 กิโลเมตร
1.3 สภาพชุมชน
บ้านหนองเหมือดเมี่ยง อยู่ในเขตปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลคำตากล้า ประชากร
ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม หลังฤดูเก็บเกี่ยวประชากรวัยแรงงานจะไปหางานทำที่ต่างจังหวัด เพราะรายได้ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต ทิ้งให้ลูกหลานอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งมีอายุมากแล้ว จึงเป็นภารกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของทางโรงเรียน ที่จะต้องคอยช่วยเหลือ ดูแล เอาใจใส่ โดยเฉพาะเรื่องอาหารกลางวัน ทางโรงเรียนได้จัดให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันทุกคน และการบริการด้านสุขภาพอนามัย โรงเรียนได้ดูแล เอาใจใส่เป็นพิเศษ และประสานงานกับโรงพยาบาล สาธารณสุข ได้มาให้ความรู้และตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นประจำ
1.4 การคมนาคม
การคมนาคมของประชาชนในเขตบริการ ทั้ง 3 หมู่บ้าน มีความลำบากมาก เพราะด้านหนึ่งติดลำน้ำสงคราม มีถนนเข้า ออกหมู่บ้านเพียงทางเดียว ไม่มีรถโดยสารประจำทาง เมื่อจะไปติดต่อราชการหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องเหมารถเข้าไปในตัวอำเภอ ซึ่งเป็นภาระของประชาชนเป็นอย่างมาก
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-12-17 13:35:56 น.