โรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
 

  • ประวัติ โรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา
  • ประวัติโรงเรียน

                    ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน

                    โรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา   ก่อตั้งเมื่อวันที่  ๒๐  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๐๐  ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนบ้านคำอ้อม”  และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา”  เมื่อ วันที่  ๘  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๑๒ 

                    ที่ตั้ง  ตั้งอยู่บ้านเหล่าใหญ่  หมู่ที่ ๒  ตำบลวัฒนา  อำเภอส่องดาว  จังหวัดสกลนคร ๔๗๑๙๐

    โรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา  อยู่ห่างจาก  จังหวัดสกลนคร  ประมาณ ๑๐๐  กิโลเมตร  ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต ๒  ประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร  มีเนื้อที่  ๓๓  ไร่  ๒  งาน  ๑๗  ตารางวา  บนที่ดินสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน  

                                  ปี  พ.ศ.  ๒๕๐๐  นายเพ็ง   มูลกัน  นายเพ็ง  ชนะมาร  นายสิงห์  อุดทุมราช  นายจำปา  บัณฑิตย์และนายอินทร์   ศรีดารักษ์ได้ได้ปรึกษาหารือกันและนำเรื่องเข้าที่ประชุมชาวบ้านคำอ้อมและบ้านฝาง  ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ และลงนามในรายงานการขอตั้งโรงเรียนเสนอต่อ  นายธนู  คงสุวรรณ  นายอำเภอสว่างแดนดิน  จังหวัดสกลนคร  และได้ร่วมมือกันซ่อมแซมศาลาวัดเป็นโรงเรียนชั่วคราวโดยมีนายอินทร์  ศรีดารักษ์  เป็นครูใหญ่ของโรงเรียน ซึ่งทางราชการได้ส่งไปอบรมแนวการสอนโรงเรียนเล็กเป็นเวลา  ๑๕  วัน

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๑๑  เกิดวาตภัยต้นไม้โค่นทับอาคารเรียนเสียหาย  ทางราชการได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว  ใช้งบประมาณ  ๖๐,๐๐๐  บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) และท่านผู้หญิงจงกล   กิตติขจร ได้สนับสนุนงบประมาณด้วย   และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา

                                    วันที่  ๑ เมษายน  ๒๕๑๕  โรงเรียนได้ขึ้นตรงต่อกิ่งอำเภอส่องดาว

                                    ปี พ.ศ.  ๒๕๒๐  ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบสน.๐๐๒ จำนวน  ๑  หลัง  งบประมาณ จำนวน   ๔๐๐,๐๐๐   บาท

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๒๐  ได้รับงบประมาณสร้างส้วม  งบประมาณ  จำนวน  ๒๕,๐๐๐   บาท

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูจำนวน ๑ หลัง  งบประมาณ  ๕๐,๐๐๐  บาท(ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

                                    ปี  พ.ศ. ๒๕๒๓ ทางราชการได้โอนกิจการโรงเรียนประถมศึกษาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด  กรรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย  มาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ

                                    ปี  พ.ศ. ๒๕๒๖  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์  แบบสปช.๒๐๒   งบประมาณ  จำนวน   ๒๒๐,๐๐๐   บาท

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๒๙  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน  แบบ สปช. ๑๐๕   เป็นอาคารเรียน  ๒  ชั้น  ๖  ห้องเรียน งบประมาณ  จำนวน   ๗๕๐,๐๐๐  บาท

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๓๑  ได้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖

     

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๓๓  ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงาน พร้อมส้วมขนาด  ๓  ที่

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๓๕  ได้ก่อสร้างโรงอาหาร  โดยไม่ได้อาศัยเงินของทางราชการแต่อย่างใด

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๓๖  ได้รื้ออาคารไม้ 

                                    ปี  พ.ศ. ๒๕๓๙  ได้รับอนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาทำการสอน

    ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๔๒  ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างสนามบาสเกตบอล  จำนวน  ๑  สนาม

    งบประมาณ  ๑๓๙,๑๐๐  บาท(หนึ่งแสนสามหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๔๒  ได้ขุดบ่อประมงโรงเรียน  ใช้งบประมาณ จำนวน  ๑๖,๐๐๐  บาท

    (หนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน) 

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๔๙  คณะครูและบุคลากร  ร่วมบริจาคสร้างอาคารเรียนชั้นอนุบาล  มูลค่า  จำนวน  ๒๒๐,๐๐๐  บาท

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๕๐  คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนประชาชนและคณะครูร่วมจัดงานผ้าป่าการศึกษา สร้างกำแพงด้านหน้าโรงเรียน  เป็นระยะทาง  ๒๐๐  เมตร    งบประมาณจำนวน    ๓๓๐,๐๐๐  บาท

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๕๒  ได้สร้างอาคารสักทอง  โดยชาวบ้านทั้ง ๒  หมู่บ้านและคณะครูร่วมบริจาค  มูลค่า จำนวน   ๓๑๐,๐๐๐  บาท

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๕๒  ได้รื้อถอนบ้านพักครูหลังที่  ๑  แบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด  โดยมีเงื่อนไขสร้างห้องสมุดตามมติคณะกรรมการสถานศึกษาฯและสร้างห้องสมุด เมื่อ ๒๕  สิงหาคม  ๒๕๕๒

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๕๒  ได้สร้างฐานเสาธงใหม่

                                    ปี  พ.ศ.  ๒๕๕๔  ได้รับเงินบริจาค จากพระอาจารย์อังคาร  อัคคธโม  เจ้าอาวาสวัดป่าน้ำโจน อ.วังทอง  จ.พิษณุโลก พร้อมด้วยญาติธรรม   ดังนี้

    • นายแพทย์วีรพันธ์  สุวรรณามัย   สร้างโรงอาหาร  มูลค่า  ๑,๑๐๐,๐๐๐  บาท
    • บริษัทอาพัฒน์สยามขนส่ง จำกัด มอบอุปกรณ์สนามเด็กเล่น  มูลค่า  ๑๕๕,๙๓๐ บาท
    • คุณนพรัตน์  เกิดชัง  มอบอุปกรณ์ห้องสมุด  มูลค่า  ๑๙๔,๐๐๐  บาท
    • บริษัท A.P.C จำกัด  มอบโต๊ะเก้าอี้ นักเรียน  มูลค่า  ๑๒๐,๕๐๐  บาท

                    ปัจจุบันโรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา  เปิดทำการสอน  ๓  ระดับ  คือ 

    ระดับก่อนประถมศึกษา  ๒ ห้องเรียน    ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๖ ห้องเรียน    และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ๓  ห้องเรียน    ผู้บริหารโรงเรียน คือ นายธีระ   แก้วอุ่นเรือน

    .๕   ลักษณะที่ตั้ง

                    เขตพื้นที่การให้บริการศึกษาของโรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา  ครอบคลุมพื้นที่จำนวน ๒   หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเหล่าใหญ่  หมู่  ๒  บ้านเหล่าสุขสันต์ หมู่ที่ ๙     

    อาณาเขต            ทิศเหนือ             ติดต่อกับบ้านหนองทุ่ม อำเภอสว่างแดนดิน

                                    ทิศใต้                      ติดต่อกับบ้านรักษาดินแดน และบ้านโคกสะอาดอำเภอส่องดาว

                                    ทิศตะวันออก       ติดต่อกับบ้านเหล่านาสีนวล ตำบลวัฒนา

                                    ทิศตะวันตก          ติดต่อกับป่าดงพระเจ้าและสวนยางพารา

      เส้นทางการติดต่อ จราจร ขนส่ง       จากโรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา  ถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต ๒   ประมาณ๑๓  กิโลเมตร  จากโรงเรียนถึงอำเภอ ส่องดาว   ๕  กิโลเมตร  และจากโรงเรียนถึงจังหวัดสกลนคร  ๙๐ กิโลเมตร

    ๑.๖  ลักษณะภูมิประเทศ                 เขตพื้นที่จงกลกิตติขจรวิทยา   ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มๆดอน ๆ เป็นพื้นที่ทำนา ทำสวนยางพาราเป็นส่วนใหญ่ ป่าไม้แทบไม่มีให้เห็นแล้ว  ซึ่งป่าสงวนก็ถูกบุกรุกจากนายทุนจากที่อื่นเช่นป่าทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน     มีแหล่งน้ำน้ำที่สำคัญคืออ่างคำหลวง และอ่างคำหนองแดง   นอกจากนี้ยังมีลำห้วยขนาดเล็ก   จึงทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร และสัตว์น้ำ มากมา

    ๑.๗  สภาพสังคม  การปกครอง

                    ๑. การปกครอง  ในเขตความรับผิดชอบของเขตพื้นที่การบริการของโรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา ประกอบด้วยเขตการปกครอง  ๒ หมู่บ้าน  คือ  บ้านเหล่าใหญ่ หมู่ที่  ๒  บ้านเหล่าสุขสันต์หมู่ที่ ๙

                    กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน

                                    ๑.กำนันตำบลวัฒนา  (บ้านเหล่าใหญ่)   คือนายแอ้ มาตโสภา

                                    ๒.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๙ ( บ้านเหล่าสุขสันต์ )  นายประยูร  มูลกัน

                                   

                     ๒. ประชากร   ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา   ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา   ทำไร่   เลี้ยงสัตว์ (วัว ควาย )   ทำสวนยางพารา  

                          และ รับจ้างทั่วไป 

                    ข้อมูลพื้นฐานของราษฎรในเขตบริการ

    รายการ

    บ้านเหล่าใหญ่

    บ้านเหล่าสุขสันต์

    จำนวนหลังคาเรือน

    ๒๘๑ ครัวเรือน

    ๑๑๐ ครัวเรือน

    จำนวนประชากร

    ๑,๑๕๑ คน

    ๕๖๐ คน

    ชาย

    ๕๖๑ คน

    ๒๕๐ คน

    หญิง

    ๕๙๐ คน

    ๓๑๐ คน

    ผู้สูงอายุ

    ๘๗ คน

    ๔๗ คน

    เด็กด้อยโอกาส

    ๑๔ คน

    ๑๐ คน

    ผู้พิการ

    ๓๔ คน

    ๒๐ คน

    ผู้มีรายได้ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ บาท

    ๕๘ คน

    ๓๕ คน

     

     

     

                                                                   

    ที่มา..ข้อมูล จปฐ.หมู่บ้าน ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗

     

     

     

     


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2024-08-20 10:45:55 น.

โรงเรียนจงกลกิตติขจรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โทรศัพท์: 042786222 อีเมล์: jongkonkitti@hotmail.com
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]