พันธกิจ
1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศของผู้เรียนรอบด้าน โดยเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในรูปแบบ Active Learning , STEM Education และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่
2. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่ รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม สุภาพอ่อนน้อม มีจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจมี
3. ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ได้รับการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
4. พัฒนาขีดความสามารถของครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต
5. พัฒนาโรงเรียนและระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับให้มีความปลอดภัยและสามารถจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. สร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การจัดระบบการบริการในสถานศึกษา
1.3 เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนมีความรู้รอบด้านและมีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่
2. ผู้เรียนเกิดความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่ รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม สุภาพอ่อนน้อม มีจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ
3. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะในด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้ มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขีดความสามารถและสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต
5. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ มีความปลอดภัยและสามารถจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. โรงเรียนได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
1.4 กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยในโรงเรียนตามบริบทของโรงเรียน
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ แบบมีส่วนร่วม ตามหลักธรรมาภิบาลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
15 แนวทางในการดำเนินงานในการพัฒนา
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ อย่างครบถ้วน
เป้าหมาย
1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีสมรรถนะที่เหมาะสม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามช่วงวัย รวมถึงได้รับการส่งเสริมความเป็นเลิศเต็มตามศักยภาพ
2. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะด้านอาชีพ นำไปสู่การมีงานทำ สามารถดำเนินชีวิตและพึ่งพาตนเองได้
3. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สุภาพอ่อนน้อม มีจิตสาธารณะ สืบสานความเป็นไทย ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการพัฒนา
1. จัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สู่การปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ให้กับผู้เรียน
2. จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยเน้นการปฏิบัติจริงในรูปแบบ Active Learning , STEM Education , Coding โดยใช้กระบวนการบูรณาการ
3. จัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้าน Soft Power ให้กับผู้เรียน
4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์และการประเมินค่า เพื่อให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้
5. จัดกระบวนการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Up-skill และ New skill เพื่อให้ผู้เรียนมีช่องทางในการประกอบอาชีพในรูปแบบที่หลากหลาย โดยผ่านกิจกรรมชุมนุม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
6. จัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชั้นเรียน ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ
เป้าหมาย
1. ผู้เรียนเกิดความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่ รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม สุภาพอ่อนน้อม มีจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ
แนวทางการพัฒนา
1. ดำเนินงานโครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน / กิจกรรมสภานักเรียน
2. ดำเนินงานโครงการวันสำคัญ / กิจกรรมสวดมนต์วันศุกร์ / จัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ / กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ
3. ดำเนินงานโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายยุวชน คนคุณธรรม
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ
เป้าหมาย
1. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะในด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้ มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขีดความสามารถและสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2. ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีสมรรถนะ ความรู้ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู
3. พัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม สื่อ เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ คิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ
4. ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สร้างผลงานด้านการจัดการเรียนการสอนให้เกิดกับตนเองและผู้เรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยแบบใหม่ ๆ มาใช้
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยในโรงเรียนตามบริบทของโรงเรียน
เป้าหมาย
1. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ มีความปลอดภัยและสามารถจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการพัฒนา
1. สร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา
2. ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งาน
3. ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโรงเรียนให้สะอาด ปลอดโปร่ง ร่มรื่น มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
4. ส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับผู้เรียน
5. ปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม และองค์ความรู้ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และไซเบอร์ อย่างสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ แบบมีส่วนร่วม ตามหลักธรรมาภิบาลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
เป้าหมาย
1. โรงเรียนได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาการบริหารจัดการให้เป็นระบบ แบบมีส่วนร่วม
2. ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
3. ปรับปรุงระบบการติดตามการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางาน
4. ประสานคณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชนและผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
5. สำรวจความต้องการของชุมชนในการจัดการศึกษาหรือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
6. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนทุกฝ่ายในการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียน
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2024-08-30 14:08:55 น.