โรงเรียนบ้านก่อ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
 

  • ประวัติ โรงเรียนบ้านก่อ
  •  

    ประวัติความเป็นมาโรงเรียนบ้านก่อ

     

     

             

    1.  ประวัติโดยย่อ

     

              โรงเรียนบ้านก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.  2482  โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านก่อ  เป็นที่เรียนชั่วคราว ผู้ดำเนินการจัดตั้ง คือ  ร.ต.ต.  ถวิล  ธนศรีรังกูล  นายอำเภอวานรนิวาส  นายกอง  พลรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน และนายสำเริง  เผ่าวงศ์ษา   ครูใหญ่โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์  โดยให้นายณรงค์  แถมสมดี มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก   นายสอน    โน้ตสุภา  เป็นครูประจำชั้น  ในระยะแรกได้ย้ายนักเรียนมาจากบ้านทุ่งโพธิ์   เปิดตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ได้ดำเนินงานโดยอาศัยงบประมาณของกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ   จนกระทั่งเดือน  ตุลาคม  พ.ศ. 2509  ทางราชการได้โอนมา    สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ใช้งบประมาณของกระทรวงมหาดไทย

              เมื่อ  พ.ศ.  2521  ทางราชการ   ได้เปลี่ยนหลักสูตร 2503  เป็นหลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช  2521    วันที่  1   ตุลาคม  พ.ศ.   2523   ได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

    วันที่  17  มิถุนายน พ.ศ. 2534  ได้รับมอบสนามวอลเลย์บอล คอนกรีตเสริมเหล็ก  1  สนาม  และรั้วคอนกรีต  เสริมเหล็กยาว  110  เมตร  จากคณะผ้าป่าและศิษย์เก่า

    วันที่  6   กรกฎาคม  พ.ศ.  2537    กรมทรัพยากรธรณี    ได้มาขุดเจาะบ่อบาดาล    กว้าง  6  นิ้ว  ลึก  42 เมตร  พร้อมเครื่องสูบน้ำ  1  เครื่อง

     วันที่  6  กรกฎาคม  พ.ศ.  2537 ด้รับมอบรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งสร้างต่อจากที่เดิม   ยาว   80   เมตร  จากคณะผ้าป่าและศิษย์เก่า  ในปีงบประมาณ  2540  โรงเรียนได้รับคักเลือกให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา  มีห้องปฏิบัติการทางภาษา    ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์    ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

    วันที่  14  เมษายน พ.ศ.  2544  คณะศิษย์เก่าและผ้าป่ากรุงเทพมหานคร    ได้ปรับถมพื้นที่บริเวณโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมขัง  ด้วยงบประมาณ  56,000  บาท 

    วันที่  14  เมษายน  พ.ศ.  2545  ได้จัดทำซุ้มประตูทางเข้าโรงเรียนงบประมาณ   42,000  บาท  โดยชาวบ้านและคระผ้าป่าศิษย์เก่า

    วันที่  7 กรกฎาคม  พ.ศ.  2546  ได้เปลี่ยนสังกัดจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  เป็น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ

    วันที่  13  เมษายน  พ.ศ.  2547  คณะผ้าป่าศิษย์เก่ากรุงเทพมหานคร  ได้สร้างห้องสมุดโรงเรียนด้วยงบประมาณ  170,000  บาท

    วันที่  1  มกราคม  2552  คณะผ้าป่าศิษย์เก่ากรุงเทพมหานคร   ระยอง  และภูเก็ต  ได้มอบเงินสร้างโรงอาหาร  งบประมาณ  110,000  บาท

     

    2.   สภาพปัจจุบัน

              พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542  มาตรา  17  ที่กำหนดให้รัฐจัดการศึกษา  9  ปี เป็นการศึกษาภาคบังคับจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี  โรงเรียนบ้านก่อ  เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา  และประถมศึกษา รวมมีนักเรียนในปีการศึกษา  2556  ทั้งสิ้น  138  คน  ได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานเป็น  4  ด้าน คือ  ด้านการประกันโอกาสทางการศึกษา  ด้านประกันคุณภาพการศึกษา  ด้านประกันประสิทธิภาพทางการศึกษา  และด้านประกันความปลอดภัยของนักเรียน  ได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปีการศึกษา  2540  มีความก้าวหน้าในรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสม

              การจัดการศึกษาในส่วนที่รับผิดชอบ  โรงเรียนบ้านก่อ  จัดการศึกษามีความก้าวหน้าในระดับที่น่าพอใจหลายๆ ด้าน  เช่น

              1.  ระดับก่อนประถมศึกษา  เด็กก่อนประถมศึกษาร้อยละ 80      มีความพร้อมทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา  ก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา

              2.  ระดับประถมศึกษา  นักเรียนระดับประถมศึกษา  สามารถเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภายในหกปี  คิดเป็นร้อยละ 100

              การพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ได้ดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้  การจัดทำมาตรฐานโรงเรียน   การพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐาน  เพื่อให้ทราบสถานภาพของแต่ละโรงเรียนว่าอยู่ในระดับใด  เพื่อจะได้วางแผนในการพัฒนาไปสู่มาตรฐานต่อไป

              ภารกิจและปริมาณงานในความรับผิดชอบ

    1.  ภารกิจ

    โรงเรียนบ้านก่อ  มีภารกิจหลักที่สำคัญที่รัฐบาล  และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายในการจัดการศึกษานั้น  ได้ดำเนินการดังนี้

    1.  การจัดการศึกษาปฐมวัย  เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กนักเรียน ที่มีอายุในช่วง 4-6 ปี

    2.  จัดการศึกษาภาคบังคับ  9  ปี  โดยเปิดรับเด็กในเขตบริการเข้าเรียนอย่างทั่วถึง  และสนับสนุนให้เรียนต่ออย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษาภาคบังคับ  ตามพระราชการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

    2.  สภาพและลักษณะชุมชน

    ชุมชนที่อยู่ในเขตบริการของโรงเรียน  ประกอบด้วย  2  หมู่บ้าน  คือ   บ้านก่อ  หมู่ที่ 11  บ้านก่อ หมู่ที่ 15 

    สภาพโดยทั่วไป  เป็นชุมชนที่อยู่ในชนบทอยู่ห่างจากตัวเมือง  การคมนาคมค่อนข้างลำบาก  ประชากรมีอาชีพในการเกษตรกรรม  ได้แก่การทำนา  เพาะปลูก  ซึ่งจะทำได้เฉพาะในหน้าฝน  ส่วนหน้าแล้ง  ชาวบ้านส่วนใหญ่จะพากันเข้าไปหางานทำในกรุงเทพฯ  ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ลูกหลานอยู่กับคนแก่  รายได้ของประชากรอยู่ในระดับต่ำเกือบเป็นลำดับสุดท้ายของตำบลหนองสนม  สภาพวัฒนธรรมแบบชนบทยังมีให้เห็น  การให้ความร่วมมือด้านแรงงานอยู่ในระดับดี  แต่ด้านปัจจัยสนับสนุนด้านอื่นยังมีน้อยมาก  ภาษาที่ใช้กันในชุมชน  คือ  ภาษาถิ่น (อีสาน)  ศาสนาที่นับถือ คือศาสนาพุทธ มีประชากรแยกตามหมู่บ้าน ดังนี้

    บ้านก่อ หมู่ที่ 11 จำนวน 821 คน  เป็นชาย  405 คน เป็นหญิง 416 คน โดยมี

    นายสัมผัด  กุลอัก  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

    บ้านก่อ หมู่ที่ 15  จำนวน 909 คน เป็นชาย 451 คน เป็นหญิง 458 คน โดยมี

    นายสมบัติ   ฮองต้น  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

    อาณาเขต

                        ทิศเหนือ          ติดกับ  บ้านแพงน้อย

                        ทิศตะวันออก     ติดกับ  บ้านกลาง

                        ทิศใต้             ติดกับ  บ้านทุ่งโพธิ์

                        ทิศตะวันตก      ติดกับ  บ้านนาคอย

    ขนบธรรมเนียมประเพณี

              เนื่องจากประชากรนับถือศาสนาพุทธ  ขนบธรรมเนียมประเพณีจึงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา  ผสมกับลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ  วิญญาณบรรพบุรุษอย่างกลมกลืนโดยจะมีกิจกรรมตลอดทั้งปี  ซึ่งภาษาถิ่นเรียกฮีต 12   ครอง 14  โดยประชากรในหมู่บ้านจะเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมหรือขนบธรรมเนียมดังกล่าวตามโอกาส    เช่น ประเพณีเลี้ยงผี  ประเพณีผูกแขนสู่ขวัญ ประเพณีแห่นางแมว  แห่นางด้ง   ประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา  เป็นต้น ประเพณีบางอย่างได้ถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัฒน์

     

     


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-11-09 08:17:04 น.

โรงเรียนบ้านก่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โทรศัพท์: อีเมล์: bankoaschool11@gmail.com
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]