• ประวัติ โรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม
  • ประวัติโรงเรียน

          โรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลประจำอำเภอพรรณานิคม “พรรณาวิทยา” ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3  สิงหาคม  2459 โดยรองอำมาตย์โทขุนนิคมพรรณาเขต นายอำเภอพรรณานิคม เป็นผู้จัดตั้งโดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดอุฒาจารย์เป็นสถานที่เล่าเรียน มีนายหนูเภา  วงศ์พรหม เป็นครูใหญ่ ดำรงอยู่ด้วยเงินบำรุงการศึกษาประชาบาล

              เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาในท้องที่อำเภอพรรณานิคม โดยเก็บเงินการศึกษาฟรีเป็นงบประมาณใช้จ่ายและจัดการเรียนการสอน ตามหลักกระทรวงศึกษาธิการ มีการเปิดสอนเฉพาะผู้เรียนชายตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ทางราชการได้ปลูกสร้างอาคารเรียน เป็นอาคารเอกเทศถาวร ขนาด 4 ห้องเรียน โดยเงินการศึกษาฟรีในราคา 8,750 บาท บนที่ดินของโรงเรียน ซึ่งตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อันเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน ใน พ.ศ. 2469 นายหนูเภา  วงศ์พรหม ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศึกษาธิการ กิ่งอำเภอวาริชภูมิ และได้ย้ายนายศิริ  วงศ์กาฬสินธุ์ ครูโรงเรียนประจำจังหวัดสกลนคร “สกลราชวิทยานุกูล” มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน เมื่อวันที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ได้ย้ายนายศิริ  วงศ์กาฬสินธุ์ ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนประจำกิ่งอำเภอวาริชภูมิ “วัดสระแก้ววารีราม” และย้ายนายทอง  แก้วก่า ครูใหญ่โรงเรียนประจำกิ่งอำเภอวาริชภูมิมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน โรงเรียนได้จัดสอนเกษตรกรรม โดยใช้ที่ดินทางทิศตะวันออกของโรงเรียนจัดเป็นแปลงเกษตร (ปัจจุบันคือโรงเรียนพรรณาวุฒาจารย์) เมื่อ พ.ศ. 2476 ทางราชการได้ย้าย นายทอง  แก้วก่า ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ประจำอำเภอวานรนิวาส และย้าย นายบิล  นาระคล ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลม่วงไข่ (วัดม่วงไข่) มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
              ในปี พ.ศ. 2478 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดหลักสูตรให้จบชั้นประถมศึกษาแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งชายและหญิง พ.ศ. 2479 ได้เปลี่ยนโรงเรียนประชาบาลประจำอำเภอพรรณานิคม “พรรณาวิทยา” มาเป็นโรงเรียนประจำตำบล “พรรณาวิทยา”  เมื่อวันที่ 9 เดือนเมษายน  พ.ศ. 2486 นายบิล  นาระคล ได้ลาออกจากราชการ ในระหว่างนั้น นายสัม  อิ้มพัฒน์ ได้รักษาราชการแทนชั่วคราว และเมื่อวันที่ 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ย้าย นายหนูไตร  แก้วก่า (นายไตร  รัตนานิคม) ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลวาริชภูมิ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน

              ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการประถมศึกษา โดยรักษาราชการแทนครูใหญ่ด้วย จนเมื่อวันที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ. 2492 ทางราชการได้ย้าย นายเชียง  ทองธิราช ครูใหญ่ประชาบาลตำบลวังยาง (วังยางวิทยานุกูล) มาดำรงตำแหน่ง ได้เปิดชั้นเด็กเล็กขึ้นจำนวน 1 ห้อง ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ดำรงอยู่ด้วยเงินอุดหนุนของทางราชการเป็นครั้งคราวและจากผู้ปกครอง ในปีพ.ศ. 2497 ทางราชการเห็นว่า อาคารเรียนทรุดโทรมมากจึงให้งบประมาณ 100,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.2 พิเศษ เป็นอาคารไม้ขนาด 2 ชั้น ขนาด 10 ห้องเรียน และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลพรรณา (พรรณาวิทยา) เป็นโรงเรียนบ้านพรรณา (พรรณาวิทยา)
              ในปีพ.ศ. 2499 กรมสามัญศึกษาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้น โดยในปีแรกใช้อาคารเรียนโรงเรียน    บ้านพรรณา (พรรณาวิทยา) เป็นสถานที่เรียนก่อน 1 ห้องเรียน ในปีต่อมาจึงย้ายไปเรียนที่โรงเรียนพรรณานิคม ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศถาวร สังกัดกองการศึกษาพิเศษ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2505   ทางราชการได้ย้ายนายเชียง  ทองธิราช ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบดมาดพอกน้อยและได้ย้าย นายแสง  บุษบงค์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านพังโคน มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และยกฐานะเป็นโรงเรียนชั้นโทตั้งแต่นั้นมา   เมื่อวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้โอนโรงเรียนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2513 เริ่มเปิดการศึกษาภาคบังคับถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 โดยในปีแรกเปิดถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เนื่องจากอาคารเรียนคับแคบ ใน พ.ศ. 2513 จึงได้สร้างหอประชุมขึ้นด้วยเงินบำรุงท้องที่ 30,000 บาท     (สามหมื่นบาทถ้วน) และเงินโรงเรียนสมทบอีก 6,000 บาท(หกพันบาทถ้วน)
              เมื่อวันที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2514 ทางราชการได้ย้าย นายแสง  บุษบงค์ ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และได้ย้ายนายทรงศักดิ์  ไชยบุญเรือง   มาดำรงตำแหน่งแทน และในปีนี้ได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ ของกรมสามัญศึกษา ขนาด 3 ห้องเรียนด้วยงบประมาณ 10,5000  บาท (หนึ่งแสนห้าพันบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2517 ทางราชการได้ย้าย นายทรงศักดิ์  ไชยบุญเรือง ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพธิ์ตาก อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร และได้ย้าย นายศรเพชร  กิณเรศ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านวังยาง (วังยางวิทยานุกูล) มาดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งขณะเดียวกันได้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอพรรณานิคมอีกด้วย จึงได้มอบหมายงานในหน้าที่ครูใหญ่ให้ นายสุริยศักดิ์  ศรีละคร ผู้ช่วยครูใหญ่รักษาการแทน เมื่อวันที่ 31 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2517  ทางราชการได้แต่งตั้ง นายสุริยศักดิ์  ศรีละคร ผู้ช่วยครูใหญ่ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน นายศรเพชร  กิณเรศ ซึ่งโอนไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอพรรณนานิคม  และแต่งตั้ง นางเพ็ญศรี  นาถมทอง ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่แทน
              ในปีพ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณสร้างโรงอาหารแบบ 312 กรมสามัญศึกษา 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) บ้านพักครูแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 3 หลัง ราคาหลังละ 44,800 บาท (สี่หมื่นสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน)  อาคารเรียนแบบ 017 กรมสามัญศึกษา ขนาด 4 ห้องเรียนใต้ถุนสูงราคา 27,5000 บาท (สองแสนเจ็ดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และในปีนี้ได้แต่งตั้ง นายบุญเทียม  อุปพงษ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่คนที่ 2 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2521 ทางราชการได้ย้าย นายแสง  กิจเจริญ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคก มาดำรงตำแหน่งแทน นายสุริยศักดิ์  ศรีละคร ซึ่งเปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่และย้าย    นายบุญเทียม  อุปพงษ์ ผู้ช่วยครูใหญ่คนที่ 2 ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคก แทน และยุบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จัดการศึกษาหลักสูตรประถมศึกษา 2521 เมื่อวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2521        ได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนอาจารย์ใหญ่และผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
                ในปีพ.ศ. 2522 ทางโรงเรียนร่วมกับหน่วย น.พ.ค. 32 กรป.กลาง ร่วมกับนิสิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยประชาชนได้ก่อสร้างอาคารห้องสมุดขนาด 6 x 12 เมตร  แล้วเสร็จ       เมื่อวันที่ 16 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2522 และเมื่อวันที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523  นายแสง  กิจเจริญ   ได้ลาออกจากราชการ จึงให้ นายสุริยศักดิ์  ศรีละคร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่รักษาการแทน จนกระทั่ง  เมื่อวันที่ 1 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายนิยุต  ทองธิราช อาจารย์ใหญ่ระดับ 7 โรงเรียนบ้านบดมาดพอกน้อย มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน พร้อมกับย้าย นายชัยชนะ  สมแสน ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคก มาดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่แทน นายสุริยศักดิ์  ศรีละคร ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านบึง ในปีนี้ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนบ้านพรรณา (พรรณาวิทยา) เป็นโรงเรียนพรรณาวิทยา พร้อมกันนั้นทางโรงเรียนเมธาศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาได้ยุบโรงเรียน และโอนผู้เรียนเข้ามาเรียนที่โรงเรียนนี้ด้วย

              เมื่อวันที่ 3 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2525 ได้แยกโรงเรียนบ้านหนองทุ่ม ไปตั้งโรงเรียนพรรณาวิทยา (สาขาบ้านหนองทุ่ม) จำนวน 2 ชั้น 2 ห้องเรียน  ก่อนปีพ.ศ. 2527 ได้รื้ออาคารเรียนแบบ ป.2 พิเศษ และหอประชุมที่ทรุดโทรมเพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 414 / 2526 ขนาด 14 ห้องเรียน 2 ห้องพักครู ซึ่งเป็นอาคารเรียนแบบคอนกรีต 2 ชั้น ราคา 3,198,000 บาท (สามล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นแปดพันบาทถ้วน) และใช้อาคารเก่าสร้างห้องสมุดบ้านพรรณา และต่อเติมอาคารชั่วคราวโรงเรียนพรรณาวิทยา (สาขาบ้านหนองทุ่ม) เมื่อวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2529 นายนิยุต  ทองธิราช อาจารย์ใหญ่ ได้เกษียณอายุราชการ นายชัยชนะ  สมแสน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ จึงรักษาราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน และในช่วงนี้ได้รับที่ดินจากกรมธนารักษ์ ซึ่งแบ่งที่ดินสาธารณสุขอำเภอพรรณานิคม เป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา    พร้อมกับได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ 205 / 2526 ราคา 785,100 บาท (เจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน) ในเนื้อที่ที่ได้ใหม่ เมื่อวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2530 ทางราชการได้ย้าย นายอุทิศ  บุญนาค อาจารย์ใหญ่ระดับ 7 โรงเรียนบ้านพาน (สหราษฎร์บำรุง) อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร  มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และในปีการศึกษานี้ ได้ยุบชั้นเด็กเล็ก และเปิดสอนระดับอนุบาลปีที่ 1 แต่พอถึงวันที่ 22 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นายอุทิศ  บุญนาค ได้ถึงแก่กรรม นายชัยชนะ  สมแสน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ จึงรักษาราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน เมื่อวันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ทางราชการได้ย้ายนายบุญเทียม  อุปพงษ์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านวังยาง (วังยางวิทยานุกูล) มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เป็นต้นมา เมื่อวันที่ 13 เดือนกันยายน พ.ศ. 2533 ได้รับการยกฐานะโรงเรียนเป็นระดับผู้อำนวยการ ได้มีนายบุญเทียม  อุปพงษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 7
              เมื่อวันที่ 9 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 และนายชัยชนะ  สมแสน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 6  เมื่อวันที่ 14 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 ครั้นเมื่อวันที่ 18 เดือนเมษายน พ.ศ. 2535       ได้เลื่อนระดับนายบุญเทียม  อุปพงษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 8 นายชัยชนะ  สมแสน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 7 ตามคำสั่งคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติที่ 152 / 2535 สั่ง ณ วันที่ 8 เดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2535 ได้รับงบประมาณก่อสร้างสนามวอลเล่ย์บอล แบบ สปช. ขนาด 9 x 18 เมตร ราคา 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน) แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 นายบุญเทียม  อุปพงษ์ ได้เกษียณอายุราชการ นายชัยชนะ  สมแสน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ จึงรักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตลอดมา เมื่อวันที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายวิญญาต  อินทรวิศิษฏ์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ต่อมา เมื่อวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2542 นายชัยชนะ  สมแสน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน และนางเพ็ญศรี  นาถมทอง ตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ได้ลาออกจากราชการตามนโยบายของรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 เดือนเมษายน พ.ศ. 2543 นายครึกชัย  วิเศษ  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ตามคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร ที่ 204 / 2543 สั่ง ณ วันที่ 11 เดือนเมษายน พ.ศ. 2543  
              เมื่อวันที่ 15 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 โรงเรียนพรรณนาวิทยา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม ตามประกาศคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร เรื่องการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนประถมศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ 2 / 2544 เมื่อวันที่ 15 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 โดย นายชัยสิทธิ์  โหตระกิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร  เมื่อวันที่ 11 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 นายวินิช ไตรโยธี ได้ย้ายมารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม จากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ บ้านเม็ก (โพธิ์ชัยวิทยา) แทนนายวิญญาต  อินทรวิศิษฏ์ ที่ได้ย้ายไปรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านวังยาง (วังยางวิทยานุกูล) เมื่อวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 นายวินิช ไตรโยธี ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม จนถึงปัจจุบัน


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-11-10 01:02:13 น.

โรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โทรศัพท์: 042779254 อีเมล์: anubanphanna02@gmail.com
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]