-
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนบ้านโนนไทย เดิมโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนฝาก ซึ่งร่วมกับโรงเรียนบ้านหนองแอกมีชื่อว่า โรงเรียนมาย 9 ตำบลมาย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2514 ตำบลมายได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอบ้านม่วง และเป็นอำเภอบ้านม่วงเมื่อ พ.ศ. 2517
ในหมู่บ้านโนนไทยในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน นักเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองแอก ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกึ่งกลางระหว่างบ้านหนอกแอก กับบ้านโนนไทย ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร พอถึงฤดูฝนการเดินทางไปมาไม่สะดวก ดังนั้น นายไพฑูรย์ สำเภา ครูโรงเรียนบ้านหนองแอก ได้ทำหนังสือยื่นต่อนายอำเภอวานรนิวาส เพื่อขอแยกโรงเรียนจากหนองแอก มาตั้งที่หมู่บ้านโนนไทย นายอำเภอวานรนิวาส ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากอำเภอมาสำรวจหาข้อมูลต่าง ๆ ได้เห็นความจำเป็นตามที่คณะครูและชาวบ้านร้องเรียนไป ดังนั้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2500 นายบรรจบ พรหมสาขา ณ สกลนคร ศึกษาธิการอำเภอวานรนิวาส ได้มอบหมายให้นายประเสริฐ เผ่าวงษ์ และนายสมัย สุวรรณรงค์ ครูหน้าที่เสมียน เป็นตัวแทนมาจัดตั้ง และเปิดป้ายโรงเรียนโดยให้มีชื่อว่า โรงเรียนวัดบ้านโนนไทย และตั้งนายไพฑูรย์ สำเภา ครูโรงเรียนบ้านหนองแอก ให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโนนไทย เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป. 1 – 4 มีครูเพียงคนเดียว อาศัยศาลาวัดเป็นที่เล่าเรียน
ในช่วงนี้มีครูย้ายมาดำรงตำแหน่งตามลำดับดังนี้
1. นายไพฑูรย์ สำเภา ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2500-2501 ย้าย
2. นายประสิทธิ์ คำผุย ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2501-2508 ย้าย
3. นายปรีชาพล เหลาสิทธิ์ ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2508-2510 ลาออก
4. นายมโนทัย อุ่นวิเศษ ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2510-2517 ย้าย
ในระหว่างที่ นายมโนทัย อุ่นวิเศษ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนี้ยังอาศัยศาลาวัดเป็นที่เล่าเรียน โดยมี นายคำผุย มีมาตร น.ธ. เอก ได้สมัครเป็นครูช่วยสอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2514-2515 แล้วได้ลาออกไปประกอบอาชีพอื่นจึงเหลือครูสอนเพียงคนเดียว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2514 ทางราชการได้ส่ง นายประมูล ฝาดแสนศรี วุฒิ ม.ศ. 3 มาดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านโนนไทยเพิ่มอีก รวมครู 2 คน สอน 4 ชั้น ปี พ.ศ. 2514 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ ป 1 ฉ. จำนวน 2 ห้อง โดยก่อสร้างในที่ดินชาวบ้านจัดไว้เป็นที่สาธารณะสำหรับไว้สร้างโรงเรียน อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน อาคารเสร็จและขออนุญาตใช้ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2514 ปี พ.ศ. 2516 หน่วย กรป. กลางบ้านกุดเรือคำ ได้สนับสนุนสร้างส้วมให้กับโรงเรียน โดยวัสดุเป็นของ กรป.กลาง ไม้เป็นของชาวบ้าน เสร็จใช้การได้เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2516 แต่การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ไม่มั่นคงแข็งแรงพอ ในปี พ.ศ. 2518 เกิดลมพายุพัดอย่างรุนแรงทำให้หลุด ปี พ.ศ. 2528 จึงได้ขออนุญาตรื้อถอนไปยัง สปอ. และได้นำอุปกรณ์ บางส่วนไปใช้ทำอาคารชั่วคราวในวันที่ 1 พฤษภาคม 2517 นายมโนทัย อุ่นวิเศษ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำจั้น และได้ย้ายนายวิรัช เชื้อวงศ์พรหม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน ปี พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูแบบองค์การ 1 หลัง 2 ห้องนอน ลงมือสร้าง 7 กรกฎาคม 2519 เสร็จ 30 กันยายน 2519 วันที่ 20 มิถุนายน 2520 เจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินทางอากาศได้มารังวัดที่ดินโรงเรียนมีเนื้อที่ 20 ไร่ กว้าง 160 เมตร ยาว 20 เมตร สำหรับ น.ส. 3 ก. ได้ส่งไปที่ สปอ.แล้ว ตั้งแต่นายสว่าง จันทะลุน เป็นครูวิชาการอำเภอในปี พ.ศ. 2530 ทางที่ดินจังหวัด ได้นำหลักเข็มมาปักเขตแดนให้ทั้ง 4 มุมแล้ว ปี พ.ศ. 2523 ทางราชการได้ส่งให้โรงเรียนทำการสอนจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และให้เปิดชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีถัดไป พร้อมกับให้เปิดสอนเด็กสองเกณฑ์อายุด้วย ในระยะนี้ทางราชการจึงได้ส่งครูมาเพิ่มอีกคือ
1. นางสาวมณเฑียร ปัญเศษ วุฒิ ปวช. 2522-2524
2. นายสวัสดี บุตรละคร วุฒิ ป.ก.ศ. 2523-2528
3. นางแสงจันทร์ ภูมิภักดิ์ วุฒิ ป.ก.ศ.สูง 2524-2531
4. นางวิยะดา เทศต้อม วุฒิ ป.ก.ศ.สูง 2524-2526
5. นางสาวเปรียมใจ อ่างคำ วุฒิ ป.ก.ศ.สูง 2525-2528
6. นายนิเวศน์ ชื่นค้า วุฒิ ป.ก.ศ.สูง 2526- ปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2525 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 401 จำนวน 1 หลัง 3 ที่นั่ง พร้อมที่ถ่ายปัสสาวะ งบประมาณ 25,000 บาท สร้าง 17 กรกฎาคม 2525 เสร็จ 30 รกฎาคม 2525
สภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะบ้านคนอยู่รอบ ๆ โรงเรียน 3 ด้าน อีกด้านจะเป็นทุ่งนาและสวนยางพารา มีประชากรประมาณ 600 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ บ้านผู้คนและทุ่งนา อาชีพหลักของชุมชน คือ การทำนา และเกษตรกรรม เนื่องจากมีเนื้อที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ บุญกฐิน บุญมหาชาติ แห่เทียนเข้าพรรษาผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพทำนา
ร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ
ฐานะทางเศรษฐกิจ / รายได้โดยเฉลี่ยต่อปี 5,000 บาท
โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านโนนไทย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลดงเหนือ อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งการเรียนรู้จากชุมชนหลาย ๆ แหล่ง เช่น แหล่งเรียนรู้หมอดิน ( ด้านการเกษตร ) อยู่ห่างประมาณ 1 กิโลเมตร ศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 6 กิโลเมตร
-
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนบ้านโนนไทย เดิมโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนฝาก ซึ่งร่วมกับโรงเรียนบ้านหนองแอกมีชื่อว่า โรงเรียนมาย 9 ตำบลมาย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2514 ตำบลมายได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอบ้านม่วง และเป็นอำเภอบ้านม่วงเมื่อ พ.ศ. 2517
ในหมู่บ้านโนนไทยในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน นักเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองแอก ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกึ่งกลางระหว่างบ้านหนอกแอก กับบ้านโนนไทย ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร พอถึงฤดูฝนการเดินทางไปมาไม่สะดวก ดังนั้น นายไพฑูรย์ สำเภา ครูโรงเรียนบ้านหนองแอก ได้ทำหนังสือยื่นต่อนายอำเภอวานรนิวาส เพื่อขอแยกโรงเรียนจากหนองแอก มาตั้งที่หมู่บ้านโนนไทย นายอำเภอวานรนิวาส ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากอำเภอมาสำรวจหาข้อมูลต่าง ๆ ได้เห็นความจำเป็นตามที่คณะครูและชาวบ้านร้องเรียนไป ดังนั้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2500 นายบรรจบ พรหมสาขา ณ สกลนคร ศึกษาธิการอำเภอวานรนิวาส ได้มอบหมายให้นายประเสริฐ เผ่าวงษ์ และนายสมัย สุวรรณรงค์ ครูหน้าที่เสมียน เป็นตัวแทนมาจัดตั้ง และเปิดป้ายโรงเรียนโดยให้มีชื่อว่า โรงเรียนวัดบ้านโนนไทย และตั้งนายไพฑูรย์ สำเภา ครูโรงเรียนบ้านหนองแอก ให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโนนไทย เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป. 1 – 4 มีครูเพียงคนเดียว อาศัยศาลาวัดเป็นที่เล่าเรียน
ในช่วงนี้มีครูย้ายมาดำรงตำแหน่งตามลำดับดังนี้
1. นายไพฑูรย์ สำเภา ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2500-2501 ย้าย
2. นายประสิทธิ์ คำผุย ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2501-2508 ย้าย
3. นายปรีชาพล เหลาสิทธิ์ ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2508-2510 ลาออก
4. นายมโนทัย อุ่นวิเศษ ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2510-2517 ย้าย
ในระหว่างที่ นายมโนทัย อุ่นวิเศษ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนี้ยังอาศัยศาลาวัดเป็นที่เล่าเรียน โดยมี นายคำผุย มีมาตร น.ธ. เอก ได้สมัครเป็นครูช่วยสอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2514-2515 แล้วได้ลาออกไปประกอบอาชีพอื่นจึงเหลือครูสอนเพียงคนเดียว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2514 ทางราชการได้ส่ง นายประมูล ฝาดแสนศรี วุฒิ ม.ศ. 3 มาดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านโนนไทยเพิ่มอีก รวมครู 2 คน สอน 4 ชั้น ปี พ.ศ. 2514 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ ป 1 ฉ. จำนวน 2 ห้อง โดยก่อสร้างในที่ดินชาวบ้านจัดไว้เป็นที่สาธารณะสำหรับไว้สร้างโรงเรียน อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน อาคารเสร็จและขออนุญาตใช้ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2514 ปี พ.ศ. 2516 หน่วย กรป. กลางบ้านกุดเรือคำ ได้สนับสนุนสร้างส้วมให้กับโรงเรียน โดยวัสดุเป็นของ กรป.กลาง ไม้เป็นของชาวบ้าน เสร็จใช้การได้เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2516 แต่การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ไม่มั่นคงแข็งแรงพอ ในปี พ.ศ. 2518 เกิดลมพายุพัดอย่างรุนแรงทำให้หลุด ปี พ.ศ. 2528 จึงได้ขออนุญาตรื้อถอนไปยัง สปอ. และได้นำอุปกรณ์ บางส่วนไปใช้ทำอาคารชั่วคราวในวันที่ 1 พฤษภาคม 2517 นายมโนทัย อุ่นวิเศษ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำจั้น และได้ย้ายนายวิรัช เชื้อวงศ์พรหม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน ปี พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูแบบองค์การ 1 หลัง 2 ห้องนอน ลงมือสร้าง 7 กรกฎาคม 2519 เสร็จ 30 กันยายน 2519 วันที่ 20 มิถุนายน 2520 เจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินทางอากาศได้มารังวัดที่ดินโรงเรียนมีเนื้อที่ 20 ไร่ กว้าง 160 เมตร ยาว 20 เมตร สำหรับ น.ส. 3 ก. ได้ส่งไปที่ สปอ.แล้ว ตั้งแต่นายสว่าง จันทะลุน เป็นครูวิชาการอำเภอในปี พ.ศ. 2530 ทางที่ดินจังหวัด ได้นำหลักเข็มมาปักเขตแดนให้ทั้ง 4 มุมแล้ว ปี พ.ศ. 2523 ทางราชการได้ส่งให้โรงเรียนทำการสอนจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และให้เปิดชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีถัดไป พร้อมกับให้เปิดสอนเด็กสองเกณฑ์อายุด้วย ในระยะนี้ทางราชการจึงได้ส่งครูมาเพิ่มอีกคือ
1. นางสาวมณเฑียร ปัญเศษ วุฒิ ปวช. 2522-2524
2. นายสวัสดี บุตรละคร วุฒิ ป.ก.ศ. 2523-2528
3. นางแสงจันทร์ ภูมิภักดิ์ วุฒิ ป.ก.ศ.สูง 2524-2531
4. นางวิยะดา เทศต้อม วุฒิ ป.ก.ศ.สูง 2524-2526
5. นางสาวเปรียมใจ อ่างคำ วุฒิ ป.ก.ศ.สูง 2525-2528
6. นายนิเวศน์ ชื่นค้า วุฒิ ป.ก.ศ.สูง 2526- ปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2525 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 401 จำนวน 1 หลัง 3 ที่นั่ง พร้อมที่ถ่ายปัสสาวะ งบประมาณ 25,000 บาท สร้าง 17 กรกฎาคม 2525 เสร็จ 30 รกฎาคม 2525
สภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะบ้านคนอยู่รอบ ๆ โรงเรียน 3 ด้าน อีกด้านจะเป็นทุ่งนาและสวนยางพารา มีประชากรประมาณ 600 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ บ้านผู้คนและทุ่งนา อาชีพหลักของชุมชน คือ การทำนา และเกษตรกรรม เนื่องจากมีเนื้อที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ บุญกฐิน บุญมหาชาติ แห่เทียนเข้าพรรษาผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพทำนา
ร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ
ฐานะทางเศรษฐกิจ / รายได้โดยเฉลี่ยต่อปี 5,000 บาท
โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านโนนไทย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลดงเหนือ อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งการเรียนรู้จากชุมชนหลาย ๆ แหล่ง เช่น แหล่งเรียนรู้หมอดิน ( ด้านการเกษตร ) อยู่ห่างประมาณ 1 กิโลเมตร ศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 6 กิโลเมตร
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-11-10 23:00:28 น.