ประวัติ ที่ตั้ง / สภาพพื้นที่เขตบริการและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาตามนโยบาย
โรงเรียนชุมชนบ่อแสนพันมิตรภาพที่ 211 ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 ตำบลอุ่มจาน อำเภอ กุสุมาลย์
จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47230 email: bor211school@gmail.com
จัดตั้งและเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ.2475 มีครู 2 คน เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบล
อุ่มจาน1 (วัดบ้านแสนพัน) มีนายคำย้าย คำโสมศรี เป็นครูใหญ่ อาศัยศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ชัย
บ้านแสนพันเป็นที่ทำการสอน
พ.ศ.2478 ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นอีกหลังในที่ดินเป็นเอกเทศ หลังคามุงด้วยไม้กระดาน
ไม่มีฝาและให้นักเรียนมาเรียนที่ศาลาหลังใหม่ในเนื้อที่ 66 ไร่เศษ พ.ศ.2479 ได้สร้างอาคารเรียนถาวรขึ้นโดยชาวบ้านจัดหาตัวไม้มาสมทบและสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2480 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนว่า
“โรงเรียนประชาบาลตำบลอุ่มจาน 1 แสนพันราษฎร์บำรุง ” และในปี พ.ศ.2495 ทางวัดและชาวบ้านได้
จับจองที่ดินว่างเปล่าตลอดจนแผ้วถางให้โล่งเตียนและย้ายนักเรียนมาเรียนที่ใหม่ในที่ดินปัจจุบันเพราะที่เรียนในวัดคับแคบเกินไป
พ.ศ.2498 นายธรรม ศรีหาราช เป็นครูใหญ่ได้รับงบประมาณ 38,000 บาท สร้างอาคารเรียน
หลังใหม่ โดยรื้ออาคารเรียนหลังเก่ามาสมทบ ขนาด 9 X 36 ตารางเมตร และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียน
บ้านแสนพันราษฎร์บำรุง” เมื่อ พ.ศ.2512 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนหลังที่ 2 ขนาด 3 ห้องเรียน แบบ ป.1ฉ และในปี พ.ศ.2513 ทางราชการได้ขยายชั้นเรียนถึงระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.7) เริ่มเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมี นายโสภน ลุนาวัน เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนนี้และโรงเรียนใกล้เคียงเข้ามาเรียนด้วยความสมัครใจและในปีนี้
ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน 1 ที่
พ.ศ.2514 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน จำนวน 1 หลัง ในวงเงินงบประมาณ 45,000 บาท และปัจจุบันได้ทำการย้ายไปเป็นที่ประกอบอาหารกลางวัน
พ.ศ.2515 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 และงบประมาณสร้างบ้านพักครูหลังที่ 1 ในวงเงินงบประมาณ 140,000 บาท
พ.ศ.2516 ได้รับงบประมาณ 105,000 บาท สร้างอาคารเรียนหลังที่ 4 และบ้านพักครูหลังที่ 2
พ.ศ.2517 ได้รับงบประมาณ 25,000 บาท สร้างบ้านพักครูหลังที่ 3 และทางกรมทรัพยากรธรณีวิทยาได้เจาะบ่อบาดาลให้ 1 ที่
พ.ศ.2518 ทางราชการได้ขยายการศึกษาภาคบังคับถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ขึ้นในท้องที่ตำบล
อุ่มจาน ซึ่งนักเรียนทุกคนต้องเรียนให้จบและถือเป็นภาคบังคับ ทำให้ผู้ปกครองนักเรียนส่วนหนึ่งไม่พอใจ เพราะต้องการเด็กไปใช้แรงงานและขาดทุนทรัพย์ตลอดจนไม่มองเห็นความสำคัญของการศึกษา และต่อมากรมการปกครองร่วมกับมูลนิธิการศึกษามิตรภาพไทย – อเมริกัน ด้วยความสนับสนุนของพระอาจารย์สว่าง จันทโชโต เจ้าอาวาสวัดสะพานคำและพลเอกสายหยุด เกิดผล จัดทำการกระโดดร่มดิ่งพสุธาหาเงิน
จัดสร้างอาคารเรียนแบบ 017 และตั้งชื่อว่า “อาคารมิตรภาพ” ตามลำดับที่ทำการกระโดดร่มทั่วประเทศไทย ในวงเงิน 800,000 บาทเป็นอาคารเรียนขนาด 8 ห้องเรียน ใต้ถุนสูง 3.50 เมตร กว้าง 10 เมตร ยาว 66 เมตร พร้อมโต๊ะนักเรียนชนิดนั่งคู่ 120 ชุด กระดานดำติดฝาผนัง 8 แผ่น ตู้เหล็กเก็บเอกสาร
ชนิด 2 บาน จำนวน 8 หลัง เสาธงเหล็ก 1 ที่ ในสมัยที่นายม่วง สุคนธชาติ เป็นครูใหญ่ และเริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2521 และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนแสนพันมิตรภาพที่ 211”
พ.ศ.2518 ได้รับงบประมาณ 135,000 บาท สร้างบ้านพักครูหลังที่ 4,5,6 และงบประมาณ 12,000 บาท สร้างส้วมซึม จำนนวน 1 หลัง ขนาด 5 ที่นั่ง อยู่ที่หลังอาคารมิตรภาพ
พ.ศ.2519 ได้รับงบประมาณ 90,000 บาท สร้างบ้านพักครูหลังที่ 7,8 และประตูรั้วบานเหล็ก จำนวน 1 ด้าน
พ.ศ.2520 ได้รับงบประมาณ 90,000 บาท สร้างบ้านพักครูหลังที่ 9,10
พ.ศ.2522 ได้รับงบประมาณ 38,000 บาท สร้างส้วม 1 หลัง ขนาด 4 ที่นั่ง
พ.ศ.2523 ได้รับงบประมาณ 24,000 บาท สร้างส้วม 1 หลัง ขนาด 2 ที่นั่ง
พ.ศ.2527 ได้รับงบประมาณ 100,000 บาท ปรับปรุงสนามกีฬาแบบ ฟ.3 ในสมัย
นายสุมิตร โสรินทร์ เป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ.2550 ได้รับงบประมาณ 19,832 บาท สร้างส้วม 1 หลัง ขนาด 2 ที่นั่ง
พ.ศ.2551 ได้รับงบประมาณ 65,000 บาท สร้างสนามวอลเล่ย์บอล แบบ สปช.
พ.ศ.2555 ได้รับงบประมาณ 17,000 บาท สร้างที่กรองน้ำ 1 ที่
พ.ศ.2556 ทางสถานีอนามัยบ้านแสนพันได้ขอที่ราชพัสดุแบ่งที่ดินของโรงเรียนส่วนที่ติดกับ
สถานีอนามัย ประมาณ 2 งาน
พ.ศ.2557 นายบุรินทร์ บุรัตน์ เป็นอาจารย์ใหญ่ได้ร่วมกับชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านขอบริจาคเงินเพื่อต่อเติมห้องเรียนด้านล่างของอาคารมิตรภาพ จำนวน 8 ห้อง เพื่อรองรับนักเรียนที่มีมากขึ้นทุกๆ ปี และห้องพิเศษต่างๆ ที่ได้รับงบประมาณจัดสรรให้ภายหลัง แต่ยังไม่เพียงพออีกเป็นจำนวนมาก
พ.ศ.2558 ได้รับงบประมาณ 9,000 บาท จาก ส.ส.เฉลิมชัก อุฬารกุล จัดซื้อโทรทัศน์
ขนาด 20 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ปีนี้เป็นปีพิเศษที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ เสด็จเยี่ยมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในวันที่ 23 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558 ซึ่ง ถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งที่พระองค์ท่านเสด็จมาเยือนพสกนิกรทุกหมู่เหล่ามารับเสด็จจนเนืองแน่นสนามโรงเรียน
พ.ศ.2559 ชาวบ้านบ่อพังแคนได้ขอร้องให้ตั้งชื่อโรงเรียนใหม่เพราะว่านักเรียนจากบ้านบ่อพังแคนก็มาเรียนด้วย จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนชุมชนบ่อแสนพันมิตรภาพที่ 211” และได้รับ งบประมาณ 38,800 บาท จาก ส.ส.มาลีรัตน์ แก้วก่า จัดซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 เครื่อง
และได้รับจานดาวเทียมไทยคมจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสกลนคร พร้อมโทรทัศน์ จำนวน 1 ชุด และงบประมาณห้องซาวด์แล็บ จำนวนเงิน 277,855 บาท
พ.ศ.2550 ได้รับงบประมาณ 155,600 บาท จัดทำระบบประปาโรงเรียนและจัดซื้อคอมพิวเตอร์ จำนวน 12 เครื่อง เป็นเงิน 277,855 บาท และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ 2 ห้อง และสร้างหอประชุมแบบ สปช.205/26 ส้วมแบบ สปช.601/26 เรือนเพาะชำ แบบ พ.1
พ.ศ.2551 ทางโรงเรียนร่วมกับชาวบ้านทำบุญกองข้าวและขอบริจาคเงินเพื่อนำมาทำป้ายชื่อโรงเรียนจนสำเร็จในวงเงิน 50,000 บาท และในปีนี้ทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากโครงการ พระราชดำริสมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ มอบจักรยานให้นักเรียนที่เดินทางไกลยืมใช้จนกว่าจะจบการศึกษาแล้วมอบให้รุ่นน้องต่อไป
พ.ศ.2552 ปีนี้ทางโรงเรียนกำลังดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและจัดซื้อจัดจ้างจาก
งบประมาณที่ได้รับให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียนและปีนี้ทางโรงเรียนได้รับคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้ง
อาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนไปตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2550 ตามคำสั่งแนบท้าย สปช.
ที่ 3499/2551 สั่ง ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2550 และทางคณะศิษย์เก่าเทพศิรินทร์ได้ช่วยกันบริจาคเงินจำนวน 300,000 บาท สร้างอาคารห้องสมุดโดยการนำของนายสมมาตร เหรียญทอง
นับรวมถึงปีการศึกษา 2556 เป็นเวลา 81 ปี
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการและผู้รักษาการ
ลำดับที่
|
ชื่อ - สกุล
|
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
|
ตำแหน่ง
|
หมายเหตุ
|
1.
|
นายคำย้าย คำโสมศรี
|
2475 – 12 ก.พ.2482
|
ครูใหญ่
|
|
2.
|
นายหวา ทัศคร
|
13 ก.พ.2482 – 5 ก.พ.2485
|
ครูใหญ่
|
|
3.
|
นายเทียม พรหมสาขาฯ
|
6 พ.ย.2485- 12 ก.ค.2486
|
รักษาการครูใหญ่
|
|
4.
|
นายวิศัลย์ วงศ์ กาฬสินธุ์
|
13 ก.ค.2486-18 ส.ค.2489
|
ครูใหญ่
|
|
5.
|
นายอุ่น พลมณี
|
19 ม.ค.2489-5 ส.ค.2492
|
ครูใหญ่
|
|
6.
|
นายพิมล วงศ์กาฬสินธุ์
|
6 ส.ค.2492-15 มิ.ย.2493
|
ครูใหญ่
|
|
7.
|
นายม่วง สุคนธชาติ
|
16 ส.ค.2493-12 ส.ค.2494
|
ครูใหญ่
|
|
8.
|
นายประพันธ์ ศรีวิไล
|
13 ส.ค.2494-10 ส.ค.2497
|
ครูใหญ่
|
|
9.
|
นายสุพรมมา เสนาไชย
|
11 ส.ค.2497-14 มิ.ย.2498
|
รักษาการครูใหญ่
|
|
10.
|
นายธรรม ศรีหาราช
|
15 มิ.ย.2498-3 ก.ย.2503
|
ครูใหญ่
|
|
11.
|
นายบุญเวียน คอมแพงจันทร์
|
4 ก.ย.2503-25 มิ.ย.2508
|
ครูใหญ่
|
|
12.
|
นายวิโรจน์ พรหมพิทักษ์กุล
|
26 มิ.ย.2508-26 ส.ค.2511
|
รักษาการครูใหญ่
|
|
13.
|
นายศานิต ศิริขันธ์
|
27 ส.ค.2511-3 พ.ย.2512
|
รักษาการครูใหญ่
|
|
14.
|
นายโสภณ ลุนาวัน
|
4 พ.ย.2512-16 ส.ค.2515
|
รักษาการครูใหญ่
|
|
15.
|
นายม่วง สุคนธชาติ
|
17 ส.ค.2515-14 ก.พ.2522
|
ครูใหญ่/อาจารย์ใหญ่
|
|
16.
|
นายวัลลภ แก้วเสถียร
|
15 ก.พ.2522-3 ก.ย.2522
|
รักษาการอาจารย์ใหญ่
|
|
17.
|
นายสุมิตร โสรินทร์
|
4 ก.ย.2522-11 พ.ย.2557
|
อาจารย์ใหญ่
|
|
18.
|
นายบุรินทร์ บุรัตน์
|
14 พ.ย.2557-พ.ศ.2557
|
อาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ
|
|
19.
|
นายดาวิทย์ พุทธิไสย
|
พ.ศ.2557-15 ต.ค. 2555
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
|
20
|
นายยุทธพงษ์ พรหมเชษฐา
|
15 ต.ค. 2555 – 2561
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
|
21
|
นางพรรมาหา เพชรพรรณ
|
ต.ค. 2561 – ปัจจุบัน
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
|
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-11-05 20:29:03 น.