ประวัติโรงเรียนบ้านหนองสะไนราษฎร์รังสฤษฏ์
หมู่บ้านหนองสะไนเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประมาณ 400 กว่าครัวเรือน แบ่งเขตบริการเป็น 4 หมู่ คือ หมู่ 4, 11, 14, 18 เป็นชนเผ่ากะเลิง ได้มาก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อประมาณ 125 ปีที่ผ่านมา เป็นทำเลที่ตั้งในสภาพธรรมชาติแวดล้อมเอื้อต่อการประกอบการทำมาหากิน มีแม่น้ำลำคลองเหมาะสำหรับการเกษตร ทำไร่ ทำนา ปลูกพืชผัก เป็นพื้นที่ราบหุบเขา ป่าไม้และสัตว์ป่ามีมากมาย จึงเป็นแหล่งที่ประกอบอาชีพด้านเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ มีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบายตลอดมา
เมื่อปี พ.ศ. 2520 ประชาชนชาวบ้านได้รับผลกระทบจากประกาศของรัฐบาล ให้พื้นที่ป่านด้านตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติภูพาน พื้นที่ส่วนมากเป็นที่ป่า ใช้ทำมาหากินมาช้านาน ตั้งแต่บรรพบุรุษ จากนโยบายของรัฐดังกล่าว เป็นการจำกัดสิทธิ ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรชาวบ้านอย่างมาก จึงทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ พ่อแม่ผู้ปกครองหลายครอบครัวทิ้งบ้านเรือนไปทำงานรับจ้าง บริษัท โรงงาน ต่างจังหวัด/กรุงเทพฯ ปล่อยบุตรหลานวัยเรียนไว้ให้ปู่ย่าตายาย ดูแลเลี้ยงดู จึงเป็นผลให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าด้านสังคม ด้านการเรียน เด็กขาดความรักความอบอุ่น บางครอบครัวผู้ปกครองปล่อยปละละเลย เลี้ยงดูตามมีตามเกิด ขาดความเอาใจใส่เท่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นปัญหาทั้งสังคมโดยรวม และของโรงเรียนที่ต้องแก้ไขให้ความช่วยเหลือเป็นประจำ
ภาษา อาชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณี
ภาษา ใช้ภาษาถิ่นเป็นส่วนมาก คือ ภาษากะเลิง ลาวอีสาน ภาษาไทยและภาษาภูไทปะปนบ้าง
อาชีพ ประชากร ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ศาสนา ประชากร ร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ มีวัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
เชื้อชาติ ประชากร ร้อยละ 100 เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย เป็นชนเผ่าท้องถิ่น ร้อยละ 80 สืบเชื้อสายมาจากที่เดียวกัน เรียกตนเองว่า เผ่ากะเลิง
ขนบธรรมเนียมประเพณี นับถือศาสนาพุทธผสมกับลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิพราหมณ์ และผีสางเทวดา จิตวิญญาณ จึงมีประเพณีเลี้ยงผีหมอ หมอเหยา เลี้ยงผีปู่ตา พิธีบายศรีสู่ขวัญ ประเพณี
ช้อนขวัญ ไล่ผี ฯลฯ
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2022-01-17 11:02:42 น.