๑. ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน
ข้อมูลทั่วไป :
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง
อักษรย่อ พ.ร.
ปรัชญาโรงเรียน เป็นสถานศึกษาของชุมชน ที่มุ่งมั่นพัฒนาคนให้มีคุณภาพด้วยกระบวนการทันสมัยได้มาตรฐาน ผสมผสานภูมิปัญญาของท้องถิ่น
คติพจน์ของโรงเรียน ปญฺญา นรานํ รตนํ (ปัญญาเป็นรัตนะของเหล่านรชน)
คำขวัญของโรงเรียน ศึกษาดี มีวินัย อนามัยเด่น เป็นสุภาพชน
อัตลักษณ์โรงเรียน ผู้เรียนมีความสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ
เอกลักษณ์โรงเรียน จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยครูต่างชาติ
สีประจำโรงเรียน แดง – เหลือง
หมายเลขโทรศัพท์ -
E-mail : banphan_school@hotmail.com
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่บ้านพาน หมู่ ๘ ตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ติดถนนนิตโย (สกลนคร – อุดรธานี) ห่างจากตัวจังหวัดสกลนคร ๑๘ กิโลเมตร
ภูมิหลัง เดิมชื่อว่า “โรงเรียนวัดสะพานศรี ” ตั้งเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ อาศัยศาลาการเปรียญ วัดสะพานศรี (วัดประจำหมู่บ้าน) เป็นสถานที่เรียน เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งมี นายเขตต์ พรหมสาขา ณ สกลนคร เป็นครูใหญ่คนแรก พ.ศ. ๒๔๘๐ คณะครู ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาคไม้ วัสดุอุปกรณ์ และแรงงานก่อสร้างอาคารเรียนในที่ดินรกร้างว่างเปล่าติดทางหลวงแผ่นดินสายสกลนคร–อุดรธานี เนื้อที่ ๓๐ไร่เศษ และขออนุญาตตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง” ตามชื่อของหมู่บ้านที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ จรด โรงเรียนโคกเลาะวิทยาคาร
ทิศใต้ จรด โรงเรียนบ้านประชาสุขสันติ์
ทิศตะวันออก จรด โรงเรียนห้วยทรายวิทยา
ทิศตะวันตก จรด โรงเรียนดงมะไฟวิทยา
เขตบริการ บ้านพาน หมู่ที่ ๘ ตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
บ้านพานพัฒนา หมู่ที่ ๑๐ ตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
บ้านน้อยหัวคู หมู่ที่ ๗ ตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ระดับที่เปิดสอน ระดับปฐมวัย อายุตั้งแต่ ๓ – ๕ ปี ในชั้นอนุบาลปีที่ ๑ – ๓
ระดับประถมศึกษา ตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
ระดับ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
ระดับ ๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ –
ประวัติการก่อตั้ง
ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ โรงเรียนมีการพัฒนาโดยตลอด ปัจจุบันโรงเรียนมีอาคารเรียน ๒ หลัง อาคารประกอบ ๓ หลัง รวมจำนวนห้องเรียนทั้งหมด ๑๒ ห้อง ห้องปฏิบัติการ ๔ ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการพิเศษ ๕ ห้อง ได้แก่ ห้องสำนักงานโรงเรียน ห้องพยาบาล ห้องสมุด ห้องดนตรี-นาฏศิลป์ ห้องประชุม
อาคารเรียน
พ.ศ. ๒๔๗๘ นายเดช วภักดิ์เพชร ครูใหญ่ ได้รับบริจาคที่ดินจากนายขันธ์ ลุนราช เนื้อที่ ๙ ไร่ ๒ งาน เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนถาวร แต่เนื่องจากเป็นที่ลุ่มน้ำขังตลอดปีไม่เหมาะต่อการใช้เป็นบริเวณโรงเรียน จึงได้จับจองที่รกร้างว่างเปล่าฝั่งตรงกันข้ามเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่เศษ เป็นที่ตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน และที่ดินที่ได้รับบริจาคโรงเรียนใช้เป็นแปลงปฏิบัติงานเกษตร ของนักเรียน
พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางราชการได้ให้ความร่วมมือด้านวัสดุ – อุปกรณ์บางส่วน เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ กว้าง ๙ x ๒๗ เมตร มีลูกกรงรอบอาคาราเรียน โดยราษฎรร่วมกันบริจาคไม้ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน และขออนุญาตตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง”
พ.ศ. ๒๔๙๗ ต่อเติมอาคารเรียนหลังเก่าโดยเงินงบประมาณ จำนวน ๓๔,๘๓๕ บาท (สามหมื่นสี่พันแปดร้อยสามสิบห้าบาท) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
พ.ศ. ๒๕๐๙ ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๑ หลัง โดยทางราชการสนับสนุนงบประมาณจำนวน ๕๕,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) แต่คณะครูและชาวบ้านต้องการให้ก่อสร้างเป็นอาคารเรียนถาวร จึงร่วมกันบริจาคไม้สมทบการก่อสร้าง ทำให้ได้อาคารเรียนถาวร ๑ หลัง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๓๖ เมตร ๔ ห้องเรียน แล้วเสร็จ ๑๐ เมษายน ๒๕๑๐
พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงขอตั้งโรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง สาขาห้วยทราย โดยอาศัยศาลาการเปรียญ วัดบ้านห้วยทราย เป็นที่เรียน
พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนขนาด ๙x๓๖ เมตร จำนวน ๔ ห้องเรียน ต่อมาคณะครู ชาวบ้านร่วมกับอนามัยจังหวัดสกลนคร ก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนจำนวน ๒ ถัง จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๑๔ คณะครู ชาวบ้าน ร่วมกับพัฒนากรตำบลขมิ้น ได้ร่วมกันสร้างอาคารหอประชุม กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๑ เมตร จำนวน ๑ หลัง มอบให้โรงเรียนแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ในปีนี้ ชาวบ้านประชาสุขสันติ์ ได้ขออนุญาตตั้งโรงเรียนสาขา เนื่องจากนักเรียนที่มาเรียนโรงเรียนบ้านพาน สหราษฎร์บำรุง ไม่สะดวก เนื่องจากถนนขรุขระ ลำบากในการเดินทางมาเรียนของนักเรียน
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับงบประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) ก่อสร้างอาคารเรียน ขนาด ๙ x ๒๗ เมตร จำนวน ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๑๗ นายอุทัย ทิพเสนา ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และในปีนี้โรงเรียนสาขา ทั้ง ๒ แห่ง ได้รับอนุมัติให้ตั้งโรงเรียนเป็นเอกเทศ
พ.ศ. ๒๕๑๘ คณะครู ภารโรง และชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างรั้วด้านหน้าบริเวณโรงเรียนด้วยไม้เนื้อแข็งยาว ๑๔๙ เมตร เป็นเงิน ๙,๔๘๙ บาท (เก้าพันสี่ร้อยแปดสิบเก้าบาท) ต่อเติมอาคารหอประชุมด้วยเงินงบประมาณ ๘,๐๐๐ บาท (แปดพันบาท) จนแล้วเสร็จ สร้างส้วมสำหรับชั้นประถมปลาย จำนวน ๑ หลัง ๒ ที่นั่ง งบประมาณ ๗,๐๐๐ บาท (เจ็ดพันบาท)
พ.ศ. ๒๕๒๐ คณะครู ภารโรง ร่วมกันจัดทำไม้ประตูทางเข้าโรงเรียนทั้ง ๒ ด้าน เป็นเงิน ๔,๘๗๐ บาท (สี่พันแปดร้อยเจ็บสิบบาท)
พ.ศ. ๒๕๒๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ได้บริจาคเงินจำนวน ๕๕๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนแบบ ๐๑๗ จำนวน ๑ หลัง มอบให้โรงเรียน วางศิลาฤกษ์ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๑ โดยนายสายสิทธิ์ พรแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธาน
พ.ศ. ๒๕๒๒ นายอุทิศ บุญนาค ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ สร้างอาคารโรงฝึกงาน๑หลัง โดยทางราชการได้จัดสรรงบประมาณจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) สร้างส้วมหญิง จำนวน ๑ หลัง ๒ ที่นั่ง ด้วยเงินงบประมาณ ๑๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๒๔ สร้างส้วม จำนวน ๑ หลัง ๓ ที่นั่ง ด้วยเงินงบประมาณ ๒๓,๙๑๖ บาท (สองหมื่นสามพันเก้าร้อยสิบหกบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๒๕ สร้างถังเก็บน้ำฝน ๒ ถัง โดยหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๒ (กรป.กลาง สกลนคร) จำนวน ๗,๐๐๐ บาท (เจ็ดพันบาท) สร้างเสาประตูฟุตบอล โดยศิษย์เก่า และกลุ่มเยาวชน เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาท)
พ.ศ. ๒๕๒๖ คณะครู ภารโรง กรรมการสถานศึกษา และชาวบ้าน ได้บริจาคเงินจำนวน ๑๒,๘๓๘ บาท (หนึ่งหมื่นสองพันแปดร้อยสามสิบแปดบาทถ้วน) สร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้าโรงเรียน ยาว ๓๒ เมตร และได้ต่อเติมอาคารเรียนแบบ ๐๑๗ ชั้นล่าง ๔ ห้องเรียน พร้อมทาสี ด้วยเงินงบประมาณจำนวน ๒๓๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่นบาท)
พ.ศ. ๒๕๒๘ สร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๕/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ๒ ชั้น ๓ ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณจำนวน ๕๙๘,๐๐๐ บาท (ห้าแสนเก้าหมื่นแปดพันบาทถ้วน) ด้วยเงินงบประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ด้วยเงินงบประมาณ ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) ด้วยเงินงบประมาณจำนวน ๒๑,๔๐๐ บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน) สร้างรั้วคอนกรีต ด้านหน้าต่อจากเดิม ยาว ๓๖ เมตร โดยคณะครู นักการภารโรง คณะกรรมการสถานศึกษา และชาวบ้าน เป็นเงิน ๑๐,๓๐๖ บาท (หนึ่งหมื่นสามร้อยหกบาทถ้วน) เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) ขนาด ๖ x ๓๐ เมตร โดยใช้วัสดุจากอาคารเรียนหลังเก่าที่รื้อถอน เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๒๙ ติดตั้งไฟฟ้าในอาคารเรียน ๓ หลัง งบประมาณ ๒๑,๔๐๐ บาท
(สองหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาท) สร้างรั้วคอนกรีต ด้านหน้าต่อจากเดิม ยาว ๓๖ เมตร โดยคณะครูนักการภารโรง คณะกรรมการศึกษาและชาวบ้าน เป็นเงิน ๑๐,๓๐๖ บาท (หนึ่งหมื่นสามร้อยหกบาท) สร้างหอกระจายข่าว เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท (สองพันห้าร้อยบาท) สร้างโรงอาหาร ขนาด ๖X๓๐ เมตร โดยใช้วัสดุจากอาคารเรียนหลังเก่าที่รื้อถอน เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท)
พ.ศ. ๒๕๓๐ นายประทิน ภูรัพพา ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ต่อเติมอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๕/๒๖ ชั้นล่าง ๓ ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณจำนวน ๑๗๙,๗๔๔ บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสี่สิบสี่บาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้ซ่อมแซมอาคารหอประชุมเป็นที่ตั้งสำนักงานกลุ่มโรงเรียนพานทอง งบประมาณ ๖๕,๐๐๐ บาท (หกหมื่นห้าพันบาท) สร้างสนามวอลเล่ย์บอล งบประมาณ ๑๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาท) ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ นายกวีพนธ์ ศรีปากดี ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. ๒๕๓๒ จัดทำประปาโรงเรียน โดยคณะครูชาวบ้านและคณะกรรมการศึกษา เป็นเงิน ๑๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) ต่อเติมอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๕/๒๖ ชั้นล่าง ๓ ห้องเรียน งบประมาณ ๑๗๙,๗๔๔ บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสี่สิบสี่บาท)
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้เกิดอัคคีภัยทำให้อาคารเรียนธนาคารกรุงเทพฯ และอาคารแบบ ป.๑ ได้รับความเสียหายทั้งสองหลัง สร้างอาคารชั่วคราว "รวมน้ำใจ" ขนาด ๗X๒๘ เมตร งบประมาณ ๖๕,๐๐๐ บาท (หกหมื่นห้าพันบาท) สร้างอาคารแบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ๒ ชั้น ๑๒ ห้องเรียนงบประมาณสมทบ ๔๗๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนเจ็ดหมื่นบาท ) และธนาคารกรุงเทพจำกัด บริจาค ๒,๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านสองแสนบาท) แล้วเสร็จเมื่อ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ตั้งชื่อว่าอาคาร "ธนาคารกรุงเทพ ๖"
พ.ศ. ๒๕๓๗ นายเทพรังสรรค์ จันทรังษี ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ได้เกิดวาตภัย ทำให้อาคารชั่วคราว “รวมน้ำใจ” ได้รับความเสียหาย ซ่อมแซมอาคารชั่วคราว งบประมาณ ๓๓,๙๐๐ บาท (สามหมื่นสามพันเก้าร้อยบาทถ้วน) และคณะครู นักการ บริจาคสมทบ ๘,๘๐๐ บาท (แปดพันแปดร้อยบาท) สร้างรั้วรวดหนาม เสาคอนกรีต ยาว ๒๑๓ เมตร โดยพระครูพิพัฒน์สังฆคุณ เจ้าอาวาสวัดสะพานศรี และนางบุญเสมอ ขอนยาง ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง บริจาคเงินจำนวน ๙,๒๑๐ บาท (เก้าพันสองร้อยสิบบาท)
พ.ศ. ๒๕๓๘ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบประปาโรงเรียน โดยคณะครู กรรมการสถานศึกษา ชาวบ้านและผู้ปกครองนักเรียนในเขตบริการบริจาคเงิน๑๑,๔๙๑ บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยเก้าสิบเอ็ด บาทถ้วน) สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. ๒๐๕/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ด้วยเงินงบประมาณจำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน) ต่อเติมอาคารโรงฝึกงาน แบบ ๓๑๒ เพื่อใช้ เป็นห้องสมุด ด้วยเงินบริจาคของพระครูพิพัฒน์สังฆคุณ เจ้าอาวาสวัดสะพานศรี จำนวน ๗๒,๐๐๐ บาท (เจ็ดหมื่นสองพันบาทถ้วน) จัดซื้อถังเหล็กชุบสังกะสี จำนวน ๒ ถัง โดยพระครูพิพัฒน์สังฆคุณ บริจาคปัจจัยเป็นเงิน ๗,๐๐๐ บาท (เจ็ดพันบาทถ้วน) สร้างรั้วลวดหนามเสาคอนกรีตด้านทิศใต้ และทิศตะวันออกของโรงเรียนด้วยเงินดอกผลของกองทุน โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง "ธนาคารกรุงเทพ ๖" จำนวน ๔๐,๘๐๐ บาท (สี่หมื่นแปดร้อยบาทถ้วน) และคณะครูบริจาคเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุง ถนนภายในโรงเรียน จำนวน ๒๑,๒๐๐ บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน) ด้วยเงินงบประมาณจำนวน ๑๔๙,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน) สร้างสนามเด็กเล่นจำนวน๑ สนาม ด้วยเงินบริจาคคณะครู ผู้ปกครองจำนวน ๑๑,๔๓๘ บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยสามสิบแปดบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๓๙ จัดทำสนามเด็กเล่น โดยคณะครู นักการ และคณะกรรมการศึกษา และชาวบ้านที่ร่วมกันบริจาค จำนวน ๑๑,๔๓๘ บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยสามสิบแปดบาท) ปรับปรุงห้องเรียนเป็นห้องปฏิบัติการทางภาษา (Sound Lab) งบประมาณ ๖๕,๐๐๐ บาท (หกหมื่นห้าพันบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๐ สร้างส้วมสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล จำนวน ๑ หลัง ๒ ที่นั่ง ด้วยเงินบริจาคคณะครูและผู้ปกครองนักเรียน สร้างศูนย์บริหารโรงเรียน โดยคณะครู กรรมการศึกษา และชาวบ้าน ในเขตบริการได้ร่วมกันบริจาควัสดุอุปกรณ์และแรงงาน สร้างที่จอดรถ จำนวน ๑ หลัง ด้วยเงินบริจาคของคณะครูจำนวน ๒๗,๕๐๐ บาท (สองหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๑ โรงเรียนได้รับอนุมัติและแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนในคราวเดียวกัน เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๑ ต่อเติมอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ด้านหน้า เพื่อใช้เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นอนุบาล ด้วยเงินบริจาคของคณะครู ผู้ปกครองและชาวบ้านจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว ๑๒๐ เมตร ด้วยเงินงบประมาณจำนวน ๒๔๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๒ ปรับปรุงห้องเรียนชั้นอนุบาลโดยปูกระเบื้อง จำนวน ๓ ห้องเรียน ด้วยเงินบริจาคของคณะครู กรรมการศึกษา และชาวบ้าน เป็นเงิน ๓๖,๐๐๐ บาท (สามหมื่นหกพันบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๓ สร้างป้ายโรงเรียนและปรับปรุงสนามเด็กเล่น ด้วยเงินบริจาคในงานบุญประทายข้าวเปลือกของคณะครู กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างศาลาที่พักผู้ปกครองโดยคณะครู ภารโรง กรรมการศึกษาและชาวบ้าน จัดงานบุญประทายข้าวเปลือก เป็นเงินจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) จัดหาทุนสร้างห้องสมุด คณะครู นักการ กรรมการศึกษา และชาวบ้านจัดงานบุญประทายข้าวเปลือก เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ติดตั้งถังประปาโรงเรียน โดยกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๔๕ จัดหาทุนสร้างอาคารห้องสมุด โดยคณะครู ภารโรง กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชาวบ้าน ร่วมกันจัดงานบุญประทายข้าวเปลือก ได้เงิน ๓๓,๙๑๘ บาท (สามหมื่นสามพันเก้าร้อยสิบแปดบาทถ้วน) จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ๑ เครื่อง โดยคณะผู้ปกครองนักเรียน ชั้นอนุบาลและกองทุนหมู่บ้านในเขตบริการร่วมกันบริจาคเป็นเงิน ๒๒,๐๐๐บาท (สองหมื่นสองพันบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ติดตั้งเหล็กดัดและตาข่ายเหล็ก อาคารเอนกประสงค์ คณะครู ภารโรง กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชาวบ้าน จัดงานบุญประทายข้าวเปลือก
พ.ศ. ๒๕๔๗ เมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗ นายประสิทธิ์ สุวรรณไตร ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เปิดการสอนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ – ป.๖ นักเรียน ๓๑๕ คน ข้าราชการครู ๑๕ คน นักการภารโรง ๑ คน
พ.ศ. ๒๕๔๘ โรงเรียนจัดงานครบรอบ ๗๒ ปี จัดซื้อคอมพิวเตอร์ จำนวน ๓ เครื่อง เงินศิษย์เก่าจัดงานส่งท้ายปีเก่า ปี ๒๕๔๗ ศิษย์เก่ามอบเครื่องคอมพิวเตอร์มือสอง จำนวน ๑๑ เครื่อง ผ่านบริษัทเงินทุน ทิสโก้ รับมอบจานดาวเทียม พร้อมโทรทัศน์และอุปกรณ์จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ต่อเติมอาคารโรงจอดรถ
พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก อบต.ขมิ้น ต่อเติมอาคารหอสมุด ในส่วนก่อฝาผนัง ติดตั้งกระจกฝ้าเพดาน และศิษย์เก่าสนับสนุนสีทาคารห้องสมุดสี ๑๓ ถัง จนแล้วเสร็จ รวมเป็นเงิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
- โรงเรียนได้เปิดขยายการศึกษาภาคบังคับในช่วงชั้นที่ ๓ (ม.ต้น) ตามความเห็นชอบจากคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๑ ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพฯ จัดซื้อเครื่องฉายโปรเจคเตอร์พร้อมจอ และเครื่องแบบนักเรียนชั้น ม.๑ ที่เขาเรียนใหม่ จำนวน ๓๗ คน
- ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจาก สมศ. รอบสอง เมื่อวันที่ ๒๘–๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ ผลการประเมินผ่านระดับดีทุกมาตรฐาน ยกเว้นมาตรฐานที่ ๕ ได้ระดับพอใช้
- ได้นำคณะครูไปศึกษาดูงานพืชสวนโลกที่จังหวัดเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนครดำเนินการเตรียมสถานศึกษาเป็นที่ฝึกประสบการณ์สอนของนักศึกษาหลักสูตร ๕ ปี ตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู
พ.ศ. ๒๕๕๐ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการถูกตัด เนื่องจากนายศุภวัฒน์ พิมมีลาย สอบผู้อำนวยการโรงเรียนได้
- นักการภารโรงเกษียณตำแหน่งถูกตัดจึงจัดให้ครูเวรประจำวันปฏิบัติหน้าที่แทน
- คณะกรรมการจาก สพฐ. มาประเมินการเปิดการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ในช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑ – ๓) นำโดยนายศุภชัย ดีดวง สตย. สพฐ. นายธีระพล บัวแก้ว สน.ผ.สพฐ. นางสาวกิ่งกาญจน์ สรสุคนธ์ สวก.สพฐ. และนางกฤษณา สว่างแสง สน.ผ.สพฐ.
- ได้รับมอบดุริยางค์ยืมเรียนจากองค์การบริหารส่วนตำบลขมิ้น ๑๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้าราชการครูมาช่วยราชการ จำนวน ๒ คน คือนางพิศเพ็ญ บุญญศรี และนางนุชจรินทร์ เลิศสงคราม จาก ร.ร.คำสว่าง สพท.นครพนม เขต ๑
- ร่วมกับบริษัทกระดาษดับเบิ้ลเอ สาขาดงมะไฟ ปลูกต้นยูคาลิปตัส จำนวน ๑,๐๐๐ ต้น เนื้อที่โรงเรียน ๔ ไร่
พ.ศ. ๒๕๕๒ บรรจุครูธุรการ คือ นางสาววรินทร พรหมสาขา ณ สกลนคร ตามโครงการคืนครูให้นักเรียน ทำหน้าที่ ร.ร.บ้านพานฯ และ ร.ร.ประชาสุขสันติ์
- นางสุภัทรา ทุมมารักษ์ ย้ายมาช่วยราชการจาก ร.ร.บ้านเชิงชุม สพท. สน. เขต ๒
- จัดทำผ้าป่าและทำบุญฉลองอาคารหอสมุดชุมชนโรงเรียน สร้างรั้วคอนกรีตด้านทิศตะวันตกของโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๕๓ อาคารเรียนถาวร แบบ สปช. ๑๐๕/๒๖ (อาคาร ๒) เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น ๑๒ ห้อง เป็นห้องเรียน ชั้น ป.๔-ป.๕-ป.๖-ม.๑-ม.๒-ม.๓ และ เป็นห้องปฏิบัติการทางภาษา,
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ต่อเติมเป็นห้องสำนักงานโรงเรียน, ห้องประชุม , ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด มีขนาด ๑๘๐ ตารางเมตร (คิดเป็นประมาณ ๒ ห้องเรียน)
มีหนังสือทั้งหมด ๑,๒๐๐ เล่ม โรงเรียนมีการติดตั้งอินเตอร์เน็ต เพื่อการค้นคว้าของนักเรียน จำนวน ๑๐ เครื่องมีนักเรียนมาใช้บริการอินเตอร์เน็ต ๑๕ คน ต่อ ๑ วัน และโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียน การสอน ๒๐ เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนจำนวนนักเรียนต่อเครื่อง เท่ากับ ๑ เครื่อง ต่อนักเรียน ๒ คน
พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจาก สมศ. รอบสาม เมื่อวันที่ ๒,๕,๖ กันยายน ๒๕๕๔ ผลการประเมินผ่านระดับดีทุกมาตรฐาน ยกเว้น มาตรฐานที่ ๕ ได้ระดับพอใช้
พ.ศ. ๒๕๕๙ นายประสิทธิ์ สุวรรณไตร ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙
- รับย้าย นายประสบชัย บุญแสง ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มาแทน
พ.ศ. ๒๕๖๐
- โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง ขอเปิดขยายชั้นอนุบาลสามปี จำนวน ๑ ห้อง และหลักสูตรการสอนระดับชั้นอนุบาล ๑-๓ เป็นหลักสูตรมอนเทสซอรี่ ได้รับจัดสรรครุภัณฑ์ห้องวิทยาศาสตร์ ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ จำนวน ๔ เครื่อง เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ จำนวน ๒ เครื่อง
ได้รับงบซ่อมแซมอาคารเรียนอาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ จำนวน ๒๒๑,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๖๑
- โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องโครงการเด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้ English for all ได้รับจัดสรรงบประมาณจ้างครูสอนภาษา จำนวน ๕ ราย ค่าจ้าง ๒๕,๐๐๐/เดือน และได้รับงบซ่อมแซมอาคารดนตรี (งบวาตภัย) จำนวน ๓๓๗,๗๐๐ บาท เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น PC จำนวน ๖ เครื่อง
พ.ศ. ๒๕๖๒
- โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนอนุบาล ๑ หลังจำนวน ๓,๐๔๑,๐๐๐ บาท ได้รับจัดสรรเครื่องสำเนาเอกสาร ๑ เครื่อง จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๖๓
- โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง ได้ทำสัญญายืมครุภัณฑ์ เก้าอี้ จำนวน ๑๐๐ ตัว
โต๊ะ จำนวน ๑๐ ตัว และเต๊นท์ จำนวน ๑ หลัง จากองค์การบริหารส่วนตำบลขมิ้น
พ.ศ. ๒๕๖๔
- โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง ได้รับงบประมาณติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงห้องคอมพิวเตอร์ งบประมาณปรับปรุงห้องสมุด และชุดครุภัณฑ์ประจำห้องสมุด จำนวน ๓๔๐,๐๐๐ บาท
รายชื่อผู้บริหารโรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ที่
|
ชื่อ-สกุล
|
ตำแหน่ง
|
วัน เดือน ปี ที่ดำรงตำแหน่ง
|
๑
|
นายเขตต์ พรหมสาขาฯ
|
ครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๔๗๖ - พ.ศ.๒๔๗๖
|
๒
|
นายเดช วภักดิ์เพชร
|
ครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๔๗๖ - พ.ศ.๒๔๗๗
|
๓
|
นายไทย หลุ่มโสม
|
รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๔๗๗ - พ.ศ.๒๔๗๗
|
๔
|
นายรำบาล วงศ์กาฬสินธุ์
|
ครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๔๘๒ - พ.ศ.๒๔๘๕
|
๕
|
นายเจริญ โรจนะชีวะ
|
ครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๔๘๕ - พ.ศ.๒๔๘๕
|
๖
|
นายชุ่ม ศรีปากดี
|
ครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๕๐๓ - พ.ศ.๒๕๐๖
|
๗
|
นายจวน แก้วเวียงเดช
|
ครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๕๐๖ - พ.ศ.๒๕๑๖
|
๘
|
นายอุทัย ทิพย์เสนา
|
ครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๕๑๖ - พ.ศ.๒๕๒๒
|
๙
|
นายอุทิศ บุนนาค
|
ครูใหญ่
|
พ.ศ.๒๕๒๒ - พ.ศ.๒๕๓๐
|
๑๐
|
นายประทิน ภูรัพพา
|
อาจารย์ใหญ่
|
พ.ศ.๒๕๓๐ - พ.ศ.๒๕๓๑
|
๑๑
|
นายกวีพนธ์ ศรีปากดี
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
พ.ศ.๒๕๓๑ - พ.ศ.๒๕๓๗
|
๑๒
|
นายเทพรังสรรค์ จันทรังษี
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
พ.ศ.๒๕๓๗ - พ.ศ.๒๕๔๗
|
๑๓
๑๔
๑๕
|
นายประสิทธิ์ สุวรรณไตร
นายประสบชัย บุญแสง
นางอุทุมพร ทองวงษา
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
พ.ศ.๒๕๔๗ - พ.ศ.๒๕๕๙
พ.ศ.๒๕๕๙ - พ.ศ.๒๕๖๓
พ.ศ.๒๕๖๓ – ปัจจุบัน
|
|
|
|
|
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2022-06-23 10:38:54 น.