คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านพังขว้างวัฒนศิลป์
ความสำคัญ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นองค์คณะบุคคลที่ทำงานร่วมกับสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการด้วยตนเองได้ตามกรอบที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นความหลากหลายของบุคคลที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการจึงเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ในด้านต่างๆ บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศ
ที่มาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง กำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และ การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 กำหนดให้ "...สถานศึกษาขนาดใหญ่ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย
-
ประธานกรรมการ
-
กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครอง จำนวนหนึ่งคน
-
กรรมการที่เป็นผู้แทนครู จำนวนหนึ่งคน
-
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน จำนวนหนึ่งคน
-
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนหนึ่งคน
-
กรรมการที่เป็นผู้แทนศิษย์เก่า จำนวนหนึ่งคน
-
กรรมการที่เป็นผู้แทนพระภิกษุ และหรือ ผู้แทนองค์กรศาสนาในพื้นที่จำนวนหนึ่งรูป หรือ หนึ่งคนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก และ จำนวนสองรูป หรือ สองคน สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่
-
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนหนึ่งคนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กและจำนวนหกคนสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่
-
ผู้อำนวยการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
นอกจากยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ และวิธีดำเนินการสรรหาตาม ข้อ 3-6 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว
อำนาจหน้าที่ ตามมาตราที่ 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2546 กำหนดให้มี "คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546 เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมกิจการของสถานศึกษา" ตามมาตราที่ 26 แห่งร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 "ให้คณะกรรมการสถานศึกษามีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา" ดังต่อไปนี้
-
กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากำหนด
-
เสนอความต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
-
ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
-
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือ ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย
บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
:: บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านวิชาการ
-พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและความ
ต้องการของผู้เรียน ชุมชนและ ท้องถิ่น
-จัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษาอย่างต่อเนื่อง
-จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ รายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการสถานศึกษารับทราบ
ด้านงบประมาณ
-จัดตั้งและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษาตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ
-ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการบริหารการเงินและการจัดหารายได้จากทรัพย์สินของ สถานศึกษา ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ
ด้านการบริหารงานบุคคล
ดำเนินการตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากำหนด
ด้านการบริหารงานทั่วไป
-จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของ
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
-ดำเนินการและกำกับ ติดตามและประเมินผลงานตามแผนงานโครงการของสถานศึกษา
-ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครองดูแลบำรุงรักษา ใช้ และ จัดหาผลประโยชน์จาก
ทรัพย์สินของสถานศึกษา ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ
-ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ ฯลฯ ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ
-ส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆ ในชุมชนและท้องถิ่น
-ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาหรือตามที่ได้รับมอบหมายและตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด
::บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านวิชาการ
-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน และ ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
-ให้ข้อเสนอแนะและส่งเสริม สนับสนุนในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ฯลฯ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
-รับทราบ และ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดระบบและการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ด้านงบประมาณ
-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งและการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในการออกระเบียบ ข้อบังคับประกาศ และ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ-บริหารการเงิน และ การจัดหารายได้ จากทรัพย์สิน ของสถานศึกษาหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด
ด้านการบริหารงานบุคคล
-ปฏิบัติตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านการบริหารทั่วไป
-ให้ความเห็น เสนอแนะและให้คำปรึกษาในการจัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผน ของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้ง ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
รับทราบ
-ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาและกิจการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ตลอดจนนโยบาย และ แผนของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ความต้องการ ของชุมชนและท้องถิ่น และรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเมื่อสถานศึกษาไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ตลอดจนนโยบาย และแผนของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน เกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแลบำรุงรักษา ใช้ และจัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษาตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด
-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ และ ให้คำปรึกษาในการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ ฯลฯ ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสถานศึกษา ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด
-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษาในการส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆในชุมชนและท้องถิ่น
-ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านพังขว้างวัฒนศิลป์
ที่
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ตำแหน่ง
|
๑
|
นายรุ่ง เย็นวัฒนา
|
ประธานกรรมการ (มาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
|
๒
|
นางลั่นทม อักษาสอน
|
กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครอง
|
๓
|
นางสุธารักษ์ มุงคำภา
|
กรรมการที่เป็นผู้แทนครู
|
๔
|
นายสัญญา แถมสมดี
|
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน
|
๕
|
นายพุทธิชัย พุทธแพง
|
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
๖
|
นางลัดดาวัลย์ โพธาราม
|
กรรมการที่เป็นผู้แทนศิษย์เก่า
|
๗
|
นางสวาท ผงสินสุ
|
กรรมการที่เป็นผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่
|
๘
|
นายบังออน พานาดา
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
๙
|
นายสุทธิชัย ผ่านสุวรรณ
|
กรรมการและเลขานุการ
|