ทิศทางการพัฒนาการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
โรงเรียนบ้านเหล่าม่วงโนนตาล
โรงเรียนบ้านเหล่าม่วงโนนตาลมีภารกิจหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในทิศทางที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) แผนการปฏิรูปประเทศแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ยุทธศาสตร์กระทรวงและนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 2 จึงได้กำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ผลผลิต จุดเน้นและตัวชี้วัด ตามลำดับดังนี้
วิสัยทัศน์(VISION)
มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความสำเร็จ “To be the success” ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พันธกิจ (MISSION)
1. ส่งเสริม พัฒนาผู้เรียนได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน สามารถอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
2. ส่งเสริม พัฒนาผู้เรียนเป็นคนดี ประพฤติตนสุจริต มีจิตอาสา ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ส่งเสริม พัฒนาครูสู่มืออาชีพ และรักการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
4. ส่งเสริม พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลที่เน้นการมีส่วนร่วม
เป้าประสงค์ (GOALS)
๑. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
๒. ผู้เรียนทุกคนเป็นคนดี มีความสุจริต จิตอาสา และค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. ผู้เรียนทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้ มีทักษะและคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย และความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้
๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสู่มืออาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความแม่นยำทางวิชาการ และมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม และทักษะในการใช้เทคโนโลยี สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการ
๕. สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาบนพื้นฐานแห่งความพอเพียง จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ในทุกมิติ โดยความร่วมมือกับชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ (STRATEGY)
1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2. พัฒนาครูสู่มืออาชีพ
3. พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
การบริหารสถานศึกษาภายใต้รูปแบบการพัฒนา 5 STARS Model
“เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา”และการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ภายใต้นโยบายก้าวสู่ความเป็นหนึ่ง To be the first มีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 เข้าใจ (P:Plan)
1. ศึกษาเรียนรู้โครงสร้างการบริหารจัดการตามหลักทฤษฎี แนวคิด วิธีการ รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา
2. วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน บริบท บุคลากร งบประมาณ สิ่งแวดล้อม
3. วางแผน กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
4. สร้างความเข้าใจกับครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขั้นที่ 2 เข้าถึง (D:Do)
1. แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ ประชุมผู้เกี่ยวข้องมอบหมายภาระหน้าที่ โดยบูรณาการหลักทฤษฎีการบริหารมาประยุกต์ใช้
2. ดำเนินการตามรูปแบบ 5 STARS Model และการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ภายใต้นโยบายก้าวสู่ความเป็นหนึ่ง To be the first ในการพัฒนากำหนดรูปแบบการดำเนินการเปรียบเทียบการบริหารจัดการออกเป็นดาว 5 ดวงหรือที่เรียกว่า“5 STARS Model” ดังนี้
S : Student Skills
T : Professional Teacher
A : Activities and Accessory
R : Report and Research
S : success
ดาวดวงที่ 1 S : Student Skills นักเรียนได้รับการพัฒนาจากนวัตกรรมที่ครูผู้สอนได้คิดค้น ทำให้เกิดทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ มีทักษะชีวิตและเป็นคนดีของสังคม มีคุณสมบัติครบตามแบบนักเรียน 4 ดี ได้แก่ การเรียนดี สุขภาพดี มารยาทดี ทักษะชีวิตดี
ดาวดวงที่ 2 T : Professional Teacher ส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ ให้สามารถคิดค้นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมพัฒนาผลิตสื่อนวัตกรรมที่เหมาะสมหลากหลายมีสีสันในการดึงดูดความน่าสนใจของนักเรียน และส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนา มีคุณสมบัติครบตามแบบครูดี 4 เต็ม ได้แก่ เต็มใจ เต็มหลักสูตร เต็มเวลา เต็มความสามารถ
ดาวดวงที่ 3 A : Activities and Accessory การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งมุ่งเน้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อคนทุกคน (Education for all) และส่งเสริมการใช้สื่อนวัตกรรมที่ครูได้คิดค้นที่มีความแปลกใหม่ เหมาะสมกับนักเรียน จัดห้องเรียนและบรรยากาศที่น่าอยู่ น่าเรียน น่าสนใจ มีการนิเทศ ติดตามอย่างสม่ำเสมอ
ดาวดวงที่ 4 R : Report and Research มีการรายงานผลความก้าวหน้า พัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนเป็นระยะ เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนา มาเป็นข้อมูลในการปรับปรุง แก้ไข รูปแบบการดำเนินการให้มีความเหมาะสมและตรงความต้องการมากยิ่งขึ้น การวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา(Research)
ดาวดวงที่ 5 S : success ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแสดงความสำเร็จ โดยมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนาและเชื่อมั่นว่า “นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้”
3. นิเทศ กำกับ ติดตาม
4. การทบทวนหลังปฏิบัติ
ขั้นที่ 3 พัฒนา (C:Check)
ตรวจสอบและประเมินผลตามรูปแบบที่ดำเนินการ จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา(SAR) รายงานผลความก้าวหน้า พัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนเป็นระยะ เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนา หากพบว่านักเรียนไม่มีพัฒนาการ หรือไม่เกิดทักษะตามที่คาดหวังไว้ ก็จะปรับปรุงแก้ไขดำเนินการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และการวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ส่งเสริมพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศต่อไป
ขั้นที่ 4 การปรับปรุงแก้ไข (A:Act)
สร้างความเป็นหนึ่งในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา หลังจากการตรวจสอบและประเมินผลแล้วหากพบว่านักเรียน ไม่เกิดทักษะตามที่คาดหวังไว้ ดำเนินการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนา พร้อมทั้งหาวิธีให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เช่น มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้ ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1. เป้าประสงค์
1.1 ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
1.2 ผู้เรียนทุกคนเป็นคนดี มีความสุจริต จิตอาสา และค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 ผู้เรียนทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้ มีทักษะและคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย และความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้
2. ประเด็นกลยุทธ์/ตัวชี้วัด
2.1 พัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นเลิศ
ด้านวิชาการ นำไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
2.1.1 ตัวชี้วัด
(1) ร้อยละของผู้เรียนระดับปฐมวัย ได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์สังคม และสติปัญญา และมีความพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
(2) ร้อยละของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน
(3) ร้อยละผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ทั้งในด้านที่มีพัฒนาการปกติและด้านที่มีความบกพร่องหรือความแตกต่างทางการเรียนรู้ หรือความสามารถพิเศษ ตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลหรือแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว ซึ่งจัดทำขึ้นบนพื้นฐานความต้องการจำเป็นเฉพาะของผู้เรียน
(4) ร้อยละของผู้เรียนที่อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น และมีนิสัยรักการอ่าน
(5) ร้อยละของผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ได้รับการพัฒนาด้านทักษะอาชีพ ทักษะการดำรงชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสาธารณะ
(6) ร้อยละของผู้เรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์
(7) ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นด้านการรู้เรื่องการอ่าน
(Reading Literacy)
(8) ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์(Mathematical Literacy)
(9) ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นด้านการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์(Scientific Literacy)
(10) ร้อยละของผู้เรียนที่มีทักษะอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(11) ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) มากกว่าร้อยละ 5 ในแต่ละวิชาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา
2.1.2 แนวทางการดำเนินการ
(1) พัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัยมีความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เพื่อที่จะเข้ารับการพัฒนาการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น
(2) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
(3) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัยในรูปแบบที่หลากหลาย
(4) สร้างความรู้ความเข้าใจแก่พ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการ
(5) พัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเน้นการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1) การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy)
2) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy)
3) การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy)
(7) พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
(8) ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning)
(10) พัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังความสามารถ และได้รับการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ จากสื่อ นวัตกรรม พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
(11) ส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ด้านศิลปะดนตรีและกีฬา
2.2 พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะอาชีพและทักษะชีวิต มีสุขภาวะที่ดีสามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.2.1 ตัวชี้วัด
(1) ร้อยละของผู้เรียนมี Portfolio เพื่อการศึกษาต่อ
(2) ร้อยละของผู้เรียนที่มีพฤติกรรมแสดงออกถึงการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(3) ร้อยละของผู้เรียนที่มีสุขภาวะที่ดีทุกช่วงวัย
2.2.2 แนวทางการดำเนินการ
(1) ส่งเสริม สนับสนุนให้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนด
(2) ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของอนามัย
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ 2 พัฒนาครูสู่มืออาชีพ
1. เป้าประสงค์
ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสู่มืออาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความแม่นยำทางวิชาการ และมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม และทักษะในการใช้เทคโนโลยี สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการ
2. ประเด็นกลยุทธ์/ตัวชี้วัด
2.1 พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภท ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ มีศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม
2.1.1 ตัวชี้วัด
(1) ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภท มีศักยภาพในการปฏิบัติงานครบตามความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ครู และบุคลากรทางการศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลอย่างมีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
2.1.2 แนวทางการดำเนินการ
(1) สนับสนุนให้ ครูและบุคลากรทางการศึกษา วางแผนและเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรที่กำหนดที่เชื่อมโยงความก้าวหน้าในวิชาชีพ (Career Path)
(2) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
(3) ส่งเสริมและพัฒนาครูให้ออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการวัดประเมินผลที่ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning)
(4) ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่าง (Differentiated Instruction)
(5) ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะในการสร้างเครื่องมือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
(6) ส่งเสริมและพัฒนาครู ให้มีความรู้ความสามารถจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล และการสอนแบบคละชั้น
(7) ส่งเสริมและพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล และตามสภาพและประเภทของความพิการ
(8) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเองผ่านระบบ Online
(9) ปรับเปลี่ยนกระบวนการวิธีการประเมินครู โดยเน้นการประเมินสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนโดยผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นหลัก
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ 3 พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
1. เป้าประสงค์
สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาบนพื้นฐานแห่งความพอเพียง จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ในทุกมิติ โดยความร่วมมือกับชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
2. ประเด็นกลยุทธ์/ตัวชี้วัด
2.1 ยกระดับสถานศึกษาให้มีมาตรฐานตามบริบทของพื้นที่ สร้างโอกาสให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงการบริการ การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานเสมอกันและลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
2.1.1 ตัวชี้วัด
(1) สถานศึกษามีระบบฐานข้อมูลประชากรวัยเรียนและสามารถนำมาใช้ในการวางแผนจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ผู้เรียนทุกคน และสถานศึกษาได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
(3) จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา
2.1.2 แนวทางการดำเนินการ
(1) จัดทำมาตรฐานสถานศึกษาโดยพิจารณาจากปัจจัย หรือองค์ประกอบขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงบริการการเรียนรู้ที่จะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีมาตรฐานเสมอกัน ตามบริบทเชิงพื้นที่ เช่น
1) ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น อาคารเรียน อาคารประกอบ หอประชุม สนามกีฬา ห้องเรียน ห้องพิเศษ วัสดุ ครุภัณฑ์ เป็นต้น
2) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
3) ด้านการบริหารจัดการ
4) ด้านงบประมาณ
5) ด้านความปลอดภัย
(2) ส่งเสริม สนับสนุน ปรับปรุง พัฒนาสถานศึกษาให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด
(3) สถานศึกษาร่วมกับองค์กรปกครองระดับพื้นที่ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2022-01-11 10:27:36 น.