ข้อมูลทั่วไป
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง ที่อยู่ หมู่ที่ ๔ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางปราณี นามสว่าง เบอร์โทรศัพท์ ๐๙-๘๕๘๔-๔๐๕๒
E-mail : nunim.0418@gmail.com ตำแหน่งที่โรงเรียนแห่งนี้ตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ จนถึงปัจจุบัน (๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖) เป็นเวลา ๔ ปี
จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๒ คน ข้าราชการครู ๖ คน พนักงานราชการ ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ คน นักการภาคโรง ๑ คน ครูอาสา ๑ คน แม่ครัว ๒ คน
จำนวนนักเรียน รวม ๑๐๔ คน ระดับปฐมวัย ๒๓ คน ระดับประถมศึกษา ๘๑ คน
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ บนเนื้อที่ ๑ แปลง (๗ ไร่ ๔๕ ตารางวา) ติดกับกุดขวาวโค้ง เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ มีครู ๑ คนคือ นายสวน สิทธิพูน เป็นครูใหญ่ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีนักเรียนทั้งหมด ๔๕ คน เป็นอาคารชั่วคราวหลังคา มุงหญ้า นักเรียนนั่งเรียนกับพื้นดิน มีชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลชุมพลบุรี ๑๒
พ.ศ. ๒๔๙๕ โรงเรียนถูกพายุพัดพังยับเยินไม่สามารถใช้การได้ ประชาชนจึงสละทรัพย์และร่วมกันหาไม้มาสร้างเป็นอาคารไม้ชั่วคราวในที่ดินกุดขวาวโค้ง ปีพ.ศ. ๒๔๙๖ ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนบ้าน ขวาวโค้ง ปี พ.ศ ๒๕๐๘ ชาวบ้านได้สละทรัพย์จำนวน ๑,๘๐๐ บาท ซื้อที่ดินนายอ่อน สร้อยแสง นอกจากนั้นมีผู้เห็นความสำคัญของการศึกษาได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมอีก คือ นางอ่อน ยันต์ทองและนายกลิ่น ปฏิตัง และย้ายมาตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ในเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๕๘ ตารางวา ติดถนนสายท่าตูม – ชุมพลบุรี
พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเรียนแบบ ป. ๑ ฉ. ๓ ห้องเรียน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ปี ๒๕๒๔ ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมแบบ ป. ๑ ฉ อีก ๓ ห้องเรียน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับงบประมาณ จากทางราชการสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมแบบ สปช. ๑๐๕/๒๖ รวม ๖ ห้องเรียน
ชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชนบท มีประชากรประมาณ *** คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ หมู่บ้านโนนดู่ บ้านขวาวโค้ง บ้านโนนม่วย และบ้านโนนตาล้าน อาชีพหลักของชุมชนคือ อาชีพเกษตรกร ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือ ภาษาอีสาน ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมที่รู้จักโดยทั่วไปคือ ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีบุญบั้งไฟ บุญผะเหวด เป็นต้น
ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพ ทำนา เกษตรกร
ร้อยละ ๒๐ ประกอบอาชีพ รับจ้าง
ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท /ครัวเรือน
โอกาส
โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการคมนาคมที่สะดวกสบายระบบการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เชื่อมั่นในผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน และมีความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของโรงเรียนส่งผลให้การบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อจำกัดของโรงเรียน
การมีจำนวนนักเรียนน้อยทำให้ได้รับงบประมาณรายหัวจากส่วนราชการต้นสังกัดน้อย ผู้ปกครองนักเรียนมีอัตราการย้ายถิ่นและไปประกอบอาชีพขายแรงงานต่างถิ่น นักเรียนย้ายติดตามผู้ปกครองบ่อย ทำให้นักเรียนบางคนเป็นเด็กมีปัญหาการเรียนไม่ต่อเนื่อง อาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่สูงอายุ เป็นต้น
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2023-10-25 17:16:50 น.